เคลมประกัน บ่อย ส่งผลเสียไหม?

การเลือกซื้อหรือทำ ประกันภัยรถยนต์ ก็เปรียบเสมือนการเก็บเงินไว้เพื่อใช้จ่ายให้กับอุบัติเหตุความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นกับรถคุณในอนาคต ที่ในความเป็นแล้วก็ไม่มีใครอยากให้เกิด แต่ในเมื่อเกิดเหตุขึ้นมาแล้ว การเคลมประกัน คือสิ่งที่เราควรกระทำในเวลาต่อมา ถ้านานๆเกิด อุบัติเหตุเฉี่ยวชน ทีก็คงจะไม่เป็นอะไร แต่ในกรณีที่เฉี่ยวชนบ่อย แถมยังมีการแจ้ง เคลมประกัน บ่อย แบบนี้ก็ส่งผลเสียกับตัวคุณเองได้นะเออ ส่วนจะ ส่งผลเสีย อย่างไรนั้น ลองมาดู

  • เสียประวัติ แน่นอนว่าถ้าในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชน และมีการ แจ้งเคลมประกัน บ่อย ประวัติของคุณอาจจะเสียได้ ซึ่งนั่นก็อาจจะส่งผลถึงเบี้ยประกันที่มีโอกาสสูงขึ้นเช่นกันในช่วงเวลาที่มีการต่อประกัน เพราะบริษัทประกันจะมองไปที่ความสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นก่อนเป็นอันดับแรกนั่นเอง ถ้าไม่อยากเสียประวัติเราแนะนำว่าควรแจ้งเคลมในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุหนักๆ และเกิดความเสียหายเยอะจะดีกว่า ส่วนในกรณีที่เกิดเหตุเฉี่ยวที่ทำให้สีรถหลุดร่อนเบาๆ ถ้าเป็นไปได้และไม่เหลือบ่าฝ่าแรง ซ่อมเองไปเลยจะดีกว่า
  • เสียสิทธิในการรับส่วนลด โดยปกติบริษัทประกันภัยนั้นมักจะมีโปรโมชั่นหลักๆมาให้อยู่แล้ว เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ผู้ขับขี่นั้นมีความระมัดระวังในการขับขี่มากเป็นพิเศษ และพอสิ้นปีก็จะมีการประเมินเพื่อให้รางวัลเป็นส่วนลดนั่นเอง โดยโปรโมชั่นส่วนใหญ่ก็คือ ประวัติดีปีแรกรับส่วนลด 20%, ประวัติดี 2 รับส่วนลด 30%, ประวัติดี 3 รับส่วนลด 40% และ ประวัติดี 4 ปีขึ้นไปรับส่วนลด 50% เป็นต้น ดังนั้นถ้าเกิดอุบัติเหตุเล็กน้อย ที่เราซ่อมเองได้ และหากประเมินแล้วว่าคุ้มค่าที่จะเก็บไว้เป็นส่วนลด ก็ควรซ่อมเองไปเลย
  • เสียเวลา เป็นเรื่องปกติที่เวลารถเราเกิดอุบัติเหตุ เมื่อเราเคลมประกันแล้ว สิ่งต่อมาก็คือการนำรถเข้าไปซ่อม ซึ่งถ้าใครที่เคยผ่านการดำเนินการในส่วนนี้ก็คงรู้กันดี ถ้าเกิดเจออู่ที่รถน้อยก็ดีไป แต่ถ้าเจออู่ที่มีรถเยอะ แล้วมีคิวจ่อซ่อมอยู่ ก็อาจจะต้องรอคิวไปนานเลยทีเดียว
  • มีโอกาส ถูกยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัย ขั้นสุดของการแจ้งเคลมอุบัติเหตุบ่อย ในกรณีนี้ถ้าทางบริษัทประกันภัยเห็นว่าเรามีการแจ้งเคลมเรื่องการเกิดอุบัติเหตุบ่อยแบบมากเกินความจำเป็น ทางบริษัทประกันภัยก็สามารถที่จะแจ้งยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยได้เลยเช่นกัน แต่ถ้าเรามองแล้วไม่เป็นธรรม ก็สามารถส่งแจ้งคำร้องออนไลน์ไปยัง สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ คปภ. ให้เข้ามาตรวจสอบในส่วนนี้ได้เช่นกัน

เครดิต www.mthai.com