แหวนสูบ ติดตั้งอยู่ที่บริเวณร่องบาก ด้านข้างส่วนบนของลูกสูบ ทำหน้าที่เป็นซีลกั้นระหว่างปลอกสูบ (Cylinder liner) กับลูกสูบ (Piston) เพื่อกันไม้ให้อากาศที่เกิดจากการจุดระเบิดในห้องเผาไหม้ รั่วไหล ผ่านเข้าไป ในห้องเครื่อง ซึ่งเป็นสาเหตุ ให้กำลังเครื่องตก ในขณะที่ลูกสูบกำลังทำงาน แหวนสูบ ก็จะเคลื่อนที่ตามไปด้วย การเคลื่อนที่ของแหวนสูบ จะทำให้เกิดการกวาดน้ำมันเครื่อง ที่หล่อลื่นอยู่บริเวณนั้น ไม่ให้หลุดลอด เข้าไปในห้องเผาไหม้ มากจนเกินไป อีกทั้ง ยังช่วยระบายความร้อน (ส่งต่อความร้อน) จากลูกสูบ ไปยังผนังกระบอกสูบ เพื่อที่จะระบายความร้อนออกไปให้กับน้ำหล่อเย็น บริเวณผนังกระบอกสูบด้วย ดังนั้น หากแหวนสูบเสียหาย หรือแตกหัก ก็อาจส่งผลให้กำลังเครื่องตกลง เพราะเมื่อจังหวะที่ลูกสูบ กำลังทำงานในจังหวอัด ก็จะมีอากาศเล็ดลอดออกมา ทำให้การทำงานไม่ได้เต็มประสิทธิภาพ นอกจากนี้ อาจทำให้มีเขม่าสะสมอยู่บริเวณห้องเผาไหม้ เนื่องจากน้ำมันหล่อลื่น เข้าไปร่วมเผาไหม้ในห้องเผาไหม้ด้วย ซึ่งอาจส่งผลให้หัวเทียนบอด (เพราะมีเขม่าในห้องเผาไหม้มาก) หรือการชิงจุดระเบิดก่อนเวลาอันควร


แหวนสูบมี 2 ชนิด :

1. แหวนอัด โดยทั่วไป ลูกสูบ 1 ลูก จะมีแหวนสูบอยู่ 3 วง (แต่ไม่เสมอไป) ติดตั้งอยู่ ซึ่ง 2 วง แรก (นับจากหัวลูกสูบลงมา) คือแหวนอัด โดยจะทำหน้าที่เป็นซีลป้องกันการรั่วไหลของความดันในห้องเผาไหม้ 

2. แหวนน้ำมัน มีลักษณะเป็นหยักๆ ทำหน้าที่กวาดน้ำมันหล่อลื่นส่วนเกิน บริเวณผนังกระบอกสูบ ให้ไหลกลับ ลงสู่อ่างเก็บน้ำมัน เหลือไว้ในปริมาณที่เพียงพอ ที่จะหล่อลื่นลูกสูบ และแหวนสูบ ในขณะที่กำลังทำงานอยู่เท่านั้น