‘เค้าบอก’ ‘เค้าว่า’ มักเป็นคำที่เราได้ยินบ่อยๆ

tttttttttttt

t>> ‘เค้าบอก’ ‘เค้าว่า’ มักเป็นคำที่เราได้ยินบ่อยๆ โดยเฉพาะความเชื่อในการใช้และดูแลรักษารถยนต์ เรามักได้ยินคำบอกเล่าต่างๆ มากมายและหลายคนก็เลือกที่จะเชื่อ โดยไม่หาความกระจ่างหรือหาเหตุผลเปรียบเทียบ >> ลองมาดูกันว่าอะไรบ้างที่เป็นคำถามที่ได้ยินบ่อยๆ หรือเป็นเรื่องความเข้าใจผิด เพื่อให้เกิดความกระจ่างและสามารถยืดอายุการใช้งานของตัวรถได้อย่างยาวนาน

tเชื่อคู่มือประจำรถหรือเชื่อช่าง

tเป็นเรื่องที่เข้าใจยากสำหรับผู้ใช้รถ ทั้งๆ ที่คู่มือบอกไว้อย่างชัดเจน เช่น การเข้ารับการบริการ ว่าให้เข้ารับทุกๆ 10,000 กิโลเมตร หรือทุก 6 เดือน แต่ช่างบางครั้งก็บอกลูกค้าว่ารอให้ครบระยะทางก่อน บางครั้งมันกินเวลาเกือบปี ดังนั้นให้ยึดถือคู่มือเป็นหลัก ถ้ามีปัญหาภายหลังจะได้ยืนยันได้ว่าเราปฏิบัติตามคู่มือ รถบางรุ่นคู่มือระบุว่าให้เข้าตรวจเช็กที่ระยะ 1,000 กิโลเมตรแรก หลังจากนั้นก็เข้ารับบริการทุกๆ 10,000 กิโลเมตร กรณีที่ไม่เข้าตามกำหนดเมื่อรถเกิดปัญหาขึ้น ศูนย์บริการอาจปฏิเสธการรับประกันได้ 

tน้ำมันเครื่องต้องตรวจเช็กตอนไหน

tการตรวจเช็กน้ำมันเครื่องเป็นเรื่องที่เจ้าของรถยังปฏิบัติกันผิดๆ ควรจอดรถบนพื้นราบเพื่อให้ระดับน้ำมันเครื่องอยู่ในระดับที่ถูกต้อง ทำการวัดหลังจากที่ดับเครื่องอย่างน้อย 5-10 นาที เพื่อให้น้ำมันเครื่องไหลกลับลงมาสู่อ่างน้ำมันเครื่อง การวัดจึงจะแม่นยำแน่นอนกว่าหลังการดับเครื่องใหม่ๆ
t        เราอาจจะเคยให้เด็กปั๊มเช็กน้ำ น้ำมันเครื่องในจังหวะเข้าเติมน้ำมัน แต่มักจะได้รับการบอกกล่าวว่า ‘น้ำมันเครื่องขาดไปครึ่งลิตร’ นั่นเพราะว่าน้ำมันเครื่องมันยังไหลลงอ่างน้ำมันเครื่องไม่ทันนั่นเอง ก็เสียค่าน้ำมันเครื่องไปฟรีๆ อย่างน้อยก็ต้อง 1 ลิตร

tttttttttt t

ttttttttt

tttttttttt ttttttttt tt

tttttttttttt

tไฟฉุกเฉินใช้เมื่อไหร่

tใช้สำหรับกรณีรถจอดเสียหรือจอดอยู่นิ่งๆ เท่านั้น และจะใช้เฉพาะเหตุฉุกเฉินจำเป็น เช่น รถจอดเสีย หรือกำลังมีอุบัติเหตุข้างหน้าเท่านั้น
t        การวิ่งเป็นขบวนหรือต้องการขอทางเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน ควรเปิดไฟหน้าเพื่อเป็นการแสดงตัวว่าเรากำลังรีบหรือมีเหตุฉุกเฉิน
t        การวิ่งผ่านสี่แยกที่ไม่มีสัญญาณไฟให้วิ่งตรงไปโดยไม่ต้องเปิดไฟกะพริบใดๆ เพราะรถที่วิ่งมาจากด้านซ้ายและขวาของท่านจะเห็นไฟกะพริบแค่ด้านเดียวเท่านั้น โดยเฉพาะรถที่วิ่งมาทางซ้ายมือจะเห็นไฟกะพริบเพียงด้านซ้าย อาจเข้าใจว่าท่านกำลังจะเลี้ยวซ้ายเลยไม่ชะลอความเร็วหรือให้ทาง ผลก็คืออาจชนกันกลางแยก
t        เมื่อฝนตกหนักให้เปิดไฟหน้าก็เพียงพอ การเปิดไฟกะพริบจะทำให้คันหลังกะระยะยาก เนื่องจากแสงไฟกะพริบรบกวนประสาทสัมผัส เมื่อเราเปิดไฟฉุกเฉินรถคันหลังที่ขับตามเรามาตลอดจะเห็นไฟกะพริบเป็นจังหวะต่อเนื่องและนาน เมื่อเราเบรก คันหลังจะมองไม่เห็นไฟเบรกเนื่องจากการกะพริบของไฟนั้นดึงความสนใจจากประสาทสัมผัสเราไปแล้ว

tttttttttt t

ttttttttt tttttttttt ttttttttt tt

tttttttttttt

t

tttttttttt t

ttttttttt tttttttttt ttttttttt tt

tttttttttttt

tสปอตไลท์กับไฟตัดหมอกหลัง

tเปิดเฉพาะเวลาที่ฝนตกหนักหรือหมอกลงจัดๆ เท่านั้น สปอตไลท์หลังจะมีความสว่างมากกว่าไฟหรี่มาก เพื่อที่จะแสดงตัวในม่านหมอกหรือกลางฝนลงหนักๆ ซึ่งความสว่างนั้นมีมากกว่าไฟกะพริบหรือไฟเลี้ยวเสียอีก ในเวลาที่สภาพอากาศปกติไม่ควรเปิดใช้งานทั้งสปอตไลท์หน้าและหลังเพราะผิดกฎหมายด้วย
t        สำหรับท่านที่ต้องเดินทางผ่านพื้นที่ฝนตกหนักหรือหมอกลงจัดเป็นประจำนั้น ควรติดตั้งไฟตัดหมอกหน้าแบบเลนส์หรือหลอดสีเหลือง เพราะจะลดการสะท้อนกับละลองน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มทัศนวิสัยในการมองเห็นได้เป็นอย่างดี 

tเติมลมยางตอนไหน

tควรเติมตอนที่ยางยังเย็นอยู่หรือขับได้ระยะ 2-3 กิโลเมตร อุณหภูมิในยางจะไม่เปลี่ยนแปลงมาก เมื่อเติมลมจะได้แรงดันที่ถูกต้อง ปกติเมื่อเราวิ่งได้ระยะหนึ่งลมยางจะร้อนและเกิดการขยายตัวทำให้แรงดันเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ถ้าวัดแรงดันตอนที่ยางร้อนจะได้แรงดันที่ไม่ถูกต้อง เจ้าของรถควรจะซื้อเกจ์วัดลมยางดีๆ สักอัน เนื่องจากเกจ์ตามปั๊มมักจะเก่าและหล่นบ่อย มักทำให้ค่าที่วัดได้คลาดเคลื่อน
t        ก่อนเข้าบ้านควรเติมลมยางให้มากกว่าปกติสัก 4-5 ปอนด์ รุ่งเช้าก็จัดการวัดลมยางให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ที่ควรทำเช่นนี้เพราะหลายคนปั๊มห่างจากบ้านไปเป็น 10 กิโลเมตร เมื่อถึงปั๊มยางก็เกิดความร้อนแล้ว เติมลมก่อนเข้าบ้านแล้วเช็กตอนเช้าจะทำให้ได้ค่าแรงดันที่ถูกต้องที่สุด เมื่อต้องเดินทางไกลควรเพิ่มลมยางมากกว่าเดิม 3-4 ปอนด์หรือตามที่คู่มือกำหนด

tttttttttt t

ttttttttt tttttttttt ttttttttt tt

tttttttttttt

tไนโตรเจนจำเป็นหรือไม่

tไม่จำเป็น แต่ถ้าเติมได้ก็ดี โดยเฉพาะผู้ที่วิ่งทางไกลเป็นประจำ เพราะจะช่วยรักษาอุณหภูมิภายในยางได้ดีกว่า แรงดันก็จะไม่ผิดเพี้ยนมากนัก ระยะยาวช่วยในเรื่องของการยืดอายุการใช้งานของยางด้วย
t        ปัจจุบันเติมราคาถูกมาก ถ้าเติมได้ก็ควรเลือกเติมแต่ถ้าไม่มีไม่ต้องซีเรียส เมื่อเติมไนโตรเจนแล้วถ้าลมอ่อนกว่ากำหนดสามารถเติมลมปกติเข้าไปทดแทนได้ เมื่อเจอที่เติมลมไนโตรเจนก็แค่ถ่ายลมออกให้หมดแล้วเติมเข้าไปใหม่

tเมื่อเปลี่ยนยางคู่เดียวต้องไว้หน้าหรือหลัง

tส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าให้เอาไว้ด้านหน้า แต่แท้จริงแล้วต้องไว้ที่ล้อหลังเนื่องจากเวลาเบรกโมเมนตัมจะถ่ายน้ำหนักมาด้านหน้า ถ้าเอายางเก่าไว้ล้อหลังการยึดเกาะจะน้อยลง อาจจะทำให้เกิดอาการท้ายปัดได้ง่าย รวมถึงการทรงตัวในทางโค้ง
t        ยางเก่าไว้ข้างหน้าไม่มีปัญหาสำหรับรถเครื่องวางหน้าเพราะน้ำหนักเครื่องจะช่วยกดยางให้สัมผัสพื้นตลอดเวลา ล้อหลังจะมีการยึดเกาะน้อยกว่าจำเป็นต้องใช้ยางใหม่ๆ ที่มีการยึดเกาะสูง เป็นเรื่องที่บริษัทผู้ผลิตยางให้ความสำคัญและแนะนำไปในทิศทางเดียวกัน แต่ที่เราได้ยินได้ฟังมานั้นเป็นความเชื่อที่บอกกล่าวกันมาล้วนๆ

tttttttttt t

ttttttttt tttttttttt ttttttttt tt

tttttttttttt

tเปลี่ยนผ้าเบรกต้องเจียรจานหรือไม่

tไม่ควรและไม่จำเป็นเลย ยกเว้นกรณีที่จานเบรกมีรอยลึกมากเท่านั้น ร้านส่วนมากมักจะให้ลูกค้าเจียรจานเบรก เพราะได้ค่าแรงเพิ่มอีกอย่างน้อยๆ คู่ละ 500-800 บาท แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ควรเจียร
t        เมื่อเปลี่ยนผ้าเบรกใหม่ให้วิ่งด้วยความเร็วต่ำ ย้ำเบรกเป็นจังหวะๆ จนกว่าจะรู้สึกว่าเบรกเริ่มจับตัวเป็นปกติ เหมือนกับการรันอินเครื่องยนต์

tยางต้องมีการรันอินหรือไม่

tจำเป็นมาก หลังจากเปลี่ยนยางใหม่ควรใช้ความเร็วไม่สูงมาก ประมาณ 90-100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพื่อให้ยางเกิดการสึกหรอที่สม่ำเสมอ และให้หน้ายางสึกหรอเข้าที่ ประสิทธิภาพด้านต่างๆ จะแสดงสมรรถนะได้เต็มที่ โดยเฉลี่ยใช้ระยะทางราว 200 กิโลเมตร ถ้าใช้งานปกติคิดเป็นเวลาราว 3-4 วัน 

tล้างห้องเครื่องจำเป็นหรือไม่

tไม่จำเป็น แต่เจ้าของรถส่วนใหญ่ต้องการให้รถดูสะอาด การล้างห้องเครื่องไม่ควรทำบ่อย เว้นการเช็ดด้วยมือสามารถทำได้บ่อย การล้างควรล้างปีละครั้งถือว่ามากพอแล้ว ควรล้างหลังจากหมดฤดูฝน การล้างต้องรอให้เครื่องเย็นจนมือจับส่วนต่างๆ ได้ เพราะเครื่องยนต์ประกอบด้วยโลหะหลายชนิด ที่มีระยะเวลาในการเย็นตัวไม่เท่ากัน เมื่อโดนน้ำเย็นๆ อาจทำให้เกิดการบิดตัวและเกิดรอยร้าวได้ รวมถึงเซ็นเซอร์ต่างๆ ที่มีความร้อนสะสมอยู่เมื่อโดนน้ำอาจจะทำให้เสียหายได้ รอให้เครื่องเย็นจะเสียเวลานานหน่อยแต่ช่วยลดปัญหาการเสื่อมสภาพของชิ้นส่วนต่างๆ ได้มาก

tttttttttt t

ttttttttt tttttttttt ttttttttt tt

tttttttttttt

tหัวเชื้อน้ำมันเครื่องจำเป็นไหม

tไม่จำเป็นเลย ปัจจุบันเรื่องโลหะวิทยาก้าวหน้าไปมาก รถในปัจจุบันสามารถใช้งานได้นับล้านกิโลเมตร และน้ำมันเครื่องก็มีเทคโนโลยีล้ำหน้าไปมาก การเติมหัวเชื้อจึงเป็นความสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ และเป็นต้นเหตุของการอุดตันในท่อทางเดินน้ำมันเครื่องที่มีขนาดเล็กในเครื่องยนต์ เนื่องจากท่อทางเดินน้ำมันเครื่องในเครื่องยนต์โดยเฉพาะในเพลาข้อเหวี่ยง ก้านสูบ สลักลูกสูบ ฯลฯ มีท่อทางเดินน้ำมันค่อนข้างเล็ก หัวเชื้อบางชนิดจะทำให้เกิดฟิล์มหนา ทางเดินน้ำมันก็จะอุดตัน ทำให้น้ำมันเครื่องไหลไม่สะดวก ผลก็คืออาจทำให้น้ำมันเครื่องไม่ไปเลี้ยงส่วนสำคัญของเครื่องยนต์ เครื่องยนต์จะเสียหายได้ในที่สุด

tหัวเชื้อน้ำมันเชื้อเพลิง

tไม่จำเป็นเช่นกัน ถ้ารถคุณไม่ได้ทำเครื่องมาแบบรถแข่งในสนามที่ต้องวิ่งรอบสูงตลอดเวลา หัวเชื้อเพิ่มคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงยิ่งไม่จำเป็นเลย เพราะอาจทำให้ซีลยางในระบบเกิดการเสื่อมสภาพ มีปัญหาตามมาในระยะยาวได้ รวมถึงอาจทำให้เครื่องยนต์ทำงานผิดปกติด้วย

tอุปกรณ์ประหยัดน้ำมัน

tเกือบทั้งหมดมีประสิทธิภาพทางทฤษฎีเท่านั้น เมื่อได้รับการทดสอบอย่างจริงจังจะเห็นว่าประหยัดขึ้นไม่กี่เปอร์เซ็นต์ จึงไม่จำเป็นต้องซื้อมาติดตั้ง เพราะเทคโนโลยีเหล่านั้นถ้าดีจริงผู้ผลิตรถยนต์ต้องติดตั้งมาให้แน่นอน สิ่งที่จะทำให้ประหยัดได้อย่างชัดเจนคือการเปลี่ยนพฤติกรรมการขับขี่เสียใหม่ หัดใช้คันเร่งให้นุ่มนวล เร่งแซงตามความเหมาะสม ไม่จำเป็นต้องวิ่ง 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รถบางคันวิ่ง 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ประหยัดกว่าตอนวิ่ง 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เสียอีก

tttttttttt t

ttttttttt tttttttttt ttttttttt tt

tttttttttttt

t

tttttttttt t

ttttttttt tttttttttt ttttttttt tt

tttttttttttt

tเวลาจอดรถควรยกก้านปัดน้ำฝนหรือไม่

tไม่ควร เพราะจะทำให้สปริงล้า ซึ่งสปริงตัวนี้มีหน้าที่ในการกดใบปัดน้ำฝนให้แนบติดกับกระจกตลอดเวลา โดยเฉพาะเมื่อวิ่งด้วยความเร็วสูง ลมที่ไหลผ่านกระจกหน้าจะยกให้ใบปัดน้ำฝนลอยตัว สปริงตัวนี้จะทำหน้าที่กดใบปัดให้แนบกับผิวหน้าของกระจก ไม่เช่นนั้นเวลาวิ่งด้วยความเร็ว 90-120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใบปัดน้ำฝนจะไม่แนบกระจก ทำให้ปัดไม่เกลี้ยงมีผลต่อทัศนวิสัยในการมองเห็น 

tเวลาจอดรถควรเปิดฝากระโปรงหรือไม่

tควรทำ เพราะช่วยระบายความร้อนในห้องเครื่องยนต์ได้มาก เป็นการยืดอายุการใช้งานพวกท่อยางและอุปกรณ์พลาสติกต่างๆ ให้ยาวนานขึ้น เพราะเมื่อดับเครื่องยนต์แล้วระบบระบายความร้อนจะไม่ทำงาน อุณหภูมิจะพุ่งสูงขึ้นระดับหนึ่งก่อนจะค่อยๆ เย็นตัวลง
t        แต่ถ้าฝากระโปรงหน้ามีโช้กอัพค้ำยันอาจจะทำให้โช้กอัพเสื่อมเร็วขึ้น โดยเฉพาะบ้านที่มีปัญหาหนูเข้าห้องเครื่อง เวลากลางคืนนั้นหนูต้องการความอบอุ่น ห้องเครื่องยนต์จึงเป็นที่อาศัยอย่างดี เพราะหลังจากดับเครื่องแล้วห้องเครื่องยังอุ่นอีกหลายชั่วโมง การเปิดฝากระโปรงให้ห้องเครื่องเย็นจะทำให้หนูไม่ค่อยมาอาศัยในห้องเครื่อง 

tเมื่อไหร่ควรสลับยาง

tควรหมั่นสลับยาง เพื่อให้ยางเกิดการสึกหรอที่ใกล้เคียงกัน อาจจะใช้ระยะเวลาสัก 6 เดือน หรือประมาณ 10,000 กิโลเมตร เป็นตัวกำหนดคร่าวๆ ก็ได้ แต่ไม่ใช่เรื่องตายตัว ถ้าพบว่ายางมีการสึกหรอผิดปกติเกิดขึ้น ให้สลับยางก่อนเวลาพร้อมทั้งตรวจเช็กหาข้อบกพร่องเพื่อทำการแก้ไข ถ้าวิ่งทางไกลเป็นประจำควรสลับยางเร็วขึ้น

tttttttttt t

ttttttttt tttttttttt ttttttttt tt

tttttttttttt

tการวอร์มเครื่องตอนเช้าจำเป็นหรือไม่

tไม่จำเป็น และไม่ควรทำเพราะการสตาร์ทเครื่องยนต์ครั้งแรกในตอนเช้าจะเกิดมลพิษมากที่สุด ไม่นับถึงความสิ้นเปลืองที่เกิดขึ้น ดังนั้นเมื่อพร้อมออกเดินทางก็สตาร์ทเครื่องแล้วออกตัวได้เลย แต่ควรใช้ความเร็วต่ำจนกว่าอุณหภูมิเครื่องยนต์จะถึงระดับปกติ โดยเฉลี่ยขับออกจากบ้านไปสัก 700-800 เมตร เครื่องยนต์ก็จะถึงอุณหภูมิใช้งานพอดี 

tรถที่มีเทอร์โบต้องวอร์มเครื่องก่อนดับหรือไม่

tไม่จำเป็น เพราะการติดเครื่องไว้ก่อให้เกิดมลพิษมาก และการระบายความร้อนลักษณะนั้นไม่ดีพอ ควรทำโดยการลดความเร็วก่อนถึงบ้านสัก 2-3 กิโลเมตร ใช้ความเร็วต่ำสัก 50-60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพื่อให้ระบบระบายความร้อนทำงานได้อย่างเต็มที่ และลมจะช่วยระบายความร้อนในห้องเครื่องได้อีกทาง เมื่อจอดรถเสร็จสามารถดับเครื่องยนต์ได้เลย

tน้ำมันเครื่องต้องสังเคราะห์ 100 เปอร์เซ็นต์ หรือไม่

tไม่จำเป็น ถ้าคุณไม่ได้ใช้รอบเครื่องยนต์สูงๆ ตลอดเวลา ในรถทั่วไปน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ก็ให้ประสิทธิภาพดีเยี่ยมแล้ว ไม่จำเป็นต้องจ่ายแพงกว่าแต่อย่างใด เพียงแต่ต้องเปลี่ยนถ่ายตามระยะทางหรือเวลาที่ฉลากข้างกระป๋อง ต้องดูให้ละเอียดว่าระบุอย่างไร เช่น ทุก 6 เดือน หรือ 5,000 กิโลเมตร แล้วแต่อย่างใดถึงก่อน สมัยนี้ไม่มีการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องแบบโบราณๆ ที่ยึดระยะ 3,000 หรือ 5,000 กิโลเมตรอีกแล้ว
t 

tttttttttt t

ttttttttt tttttttttt ttttttttt tt

tttttttttttt

tไม่ต้องมีความรู้เรื่องรถ แต่ต้องใส่ใจดูแลและช่างสังเกต

tเจ้าของรถจำนวนไม่น้อยไม่มีความรู้ใดๆ เกี่ยวกับเทคนิคหรือการดูแลรักษารถยนต์เลย ถามว่าเรื่องนี้จำเป็นไหมสำหรับเจ้าของรถ บอกได้เลยว่าไม่มีความจำเป็นที่คุณจะต้องลงมือดูแลหรือซ่อมบำรุงรถยนต์ด้วยตัวเอง แต่ไม่ใช่ว่าจะปล่อยปละละเลยหรือรอให้ถึงระยะเพื่อเข้าศูนย์เพียงอย่างเดียว เพราะหลายครั้งมันมีความเสียหายเกิดขึ้นก่อน ดังนั้นสิ่งที่จะช่วยคุณได้คือ ‘ความช่างสังเกต’
t        ความช่างสังเกตจำเป็นต้องอาศัยประสาทสัมผัส คนเรามีประสาทสัมผัสถึง 5 อย่าง คือตาไว้ดู หูไว้ฟัง จมูกไว้ดม ปากไว้ชิม มือไว้สัมผัสหรือรับความรู้สึกส่งผ่านมาทางร่างกาย แล้วประสาทสัมผัสเหล่านี้จะช่วยคุณได้อย่างไร ลองมาดูกันครับ 
t 

tประสาทสัมผัสของร่างกาย

tไม่ว่าจะใช้มือหรือร่างกายก็ตาม ลองใช้ประสาทสัมผัสของร่างกายให้เป็นประโยชน์จับความรู้สึกของรถตัวเอง เอาตั้งแต่ได้มาใหม่ๆ ลองจำความรู้สึกเอาไว้ ว่าเวลาเร่งเป็นแบบนี้ น้ำหนักพวงมาลัยประมาณนี้ เสียงเครื่องยนต์ประมาณนี้ เวลาขับความเร็วต่ำเป็นแบบไหน ความเร็วสูงเป็นแบบไหน 
t        ประสาทสัมผัสจะทำให้รู้ได้ว่ารถตัวเองนั้นมีปัญหาเรื่องพวงมาลัยสั่นนิดๆ ที่ความเร็ว 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือแม้แต่จังหวะที่เกียร์เปลี่ยนแต่ทำไมรถมันสะท้านๆ หรือกระตุกแรง รวมถึงเวลาเบรกก็ลองสังเกตดูบ้างว่ามันกินซ้ายกินขวา หรือทำไมสั่นมาถึงพวงมาลัยนิดๆ
t        การใช้ประสาทสัมผัสของร่างกายให้เป็นประโยชน์จะช่วยให้คุณสามารถผ่อนหนักเป็นเบา และสามารถลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงได้มาก เพราะอาการที่กล่าวมาล้วนเป็นอาการเริ่มต้นของความผิดปกติทั้งสิ้น คุณไม่จำเป็นต้องรู้ว่ามันเกิดจากอะไร แค่แยกแยะให้ได้ว่าพวงมาลัยสั่นที่ความเร็วเท่าไหร่ หรือเบรกแล้วสั่นสะท้านอย่างไร แค่นี้ก็เพียงพอที่จะเล่าอาการให้ช่างฟังและวินิจฉัยได้แคบลง จะได้แก้ไขได้ทันก่อนที่จะเกิดความเสียหายใหญ่หรืออุบัติเหตุ

tttttttttt t

ttttttttt tttttttttt ttttttttt tt

tttttttttttt

tประสาทสัมผัสทางการมองเห็น

tความผิดปกติส่วนใหญ่นั้นสามารถตรวจเช็กได้ด้วยสายตาและควรทำให้ติดเป็นนิสัย อย่างเช่นเวลาเดินมาที่รถก็สำรวจดูสักหน่อยว่ายางแบนหรือเปล่า หรือทำไมอยู่ดีๆ ประตูรถถึงได้บุบขนาดนั้น
t        ถ้าปกติคุณเป็นคนที่เดินมาถึงกดรีโมทรอตั้งแต่ยังไม่ถึงรถ เปิดประตูได้ก็ขึ้นนั่งสตาร์ทออกไปเลย ไม่เคยสนใจอะไรรอบข้าง ถ้าเป็นคนแบบนี้ก็ต้องทำตัวเสียใหม่ เพราะการสังเกตจะช่วยให้เห็นถึงความผิดปกติต่างๆ ทั้งที่เกิดบนตัวรถ และภัยรอบข้างที่ซุ่มอยู่แถวๆ รถคุณ
t        เวลาขับก็ต้องสังเกตด้วยว่ามาตรวัดบนแผงหน้าปัดนั้นมันมีอะไรผิดปกติบ้างหรือเปล่า ความร้อนสูงกว่าปกติหรือไม่ หรืออยู่ๆ มีไฟโชว์อะไรขึ้นมา ขับๆ อยู่ไฟสูงค้างอยู่หรือเปล่า ฯลฯ และบริเวณแผงหน้าปัดไม่ควรนำพระ เหรียญ รูปภาพแฟน ตุ๊กตา ฯลฯ มาติดไว้เด็ดขาดเพราะจะบดบังสัญญาณเตือนต่างๆ
t        กรณีที่คุณไม่รู้ว่ามีไฟโชว์ติดขึ้นมา เช่น ไฟโชว์รูปกาน้ำมันเครื่อง ซึ่งแสดงว่าน้ำมันเครื่องในระบบมีน้อยกว่าปกติหรือเกิดการรั่วซึมกะทันหัน ถ้ามันเพิ่งโชว์แล้วคุณจอดรถและดับเครื่องทัน ความเสียหายก็จะไม่เกิด แต่ถ้ามันโชว์ขึ้นมาแล้วมองไม่เห็นเพราะรูปแฟนบังอยู่ อย่างนี้โอกาสเสียเงินหลักหมื่นอาจจะตามมา รวมถึงร่องรอยบนพื้นที่ใช้จอดรถเป็นประจำ ถ้ามีน้ำมันหยดก็ต้องดูว่าหยดตรงไหนหน้ารถหรือหลังรถ ใกล้เคียงตรงไหน ถ่ายรูปเก็บไว้ให้ช่างดูได้ก็ยิ่งดี

tประสาทสัมผัสด้วยการได้ยิน

tเรื่องของการฟังนี่สำคัญมาก โดยเฉพาะพวกที่มีเสียงดนตรีในหัวใจ เอะอะขึ้นรถได้ก็เปิดเพลงตลอดทาง แถมฟังเบาๆ ไม่สะใจซะอีกต้องเปิดดังๆ ถ้าเป็นแบบนี้ควรให้เวลาในการตรวจเช็กรถบ้าง ด้วยการปิดเครื่องเสียงแล้ววิ่งแบบเงียบๆ สัก 10-20 นาที ลองฟังดูว่ามีเสียงแปลกปลอมบ้างหรือไม่ อาจจะมีเสียงช่วงล่างดังกุกกักๆ หรือชิ้นส่วนตีกันดังก๊อกแก๊กๆ ก็จะได้รู้แล้วรีบหาทางตรวจเช็ก
t        เสียงดังของยางหรือเวลาวิ่งผ่านรอยต่อถนน เสียงกุกกัก อ๊อดแอ๊ด เสียงหึ่งๆ ฯลฯ เหล่านั้นมันคือเสียงผิดปกติ ซึ่งความเงียบเท่านั้นที่จะทำให้คุณได้ยิน นิสัยนี้ควรเริ่มตั้งแต่เปิดประตูเข้ารถเลย ทำสมาธิเสียหน่อย เสียบกุญแจเข้าไป บิดมาที่ตำแหน่ง ON เมื่อไฟบนแผงหน้าปัดติดก็บิดกุญแจสตาร์ทเครื่องยนต์ ตอนที่เสียบกุญแจเข้าไปก็พยายามฟังเสียงต่างๆ ที่เกิดขึ้นจนกระทั่งเครื่องยนต์ติด ทำอย่างนี้ให้ได้สักอาทิตย์สองอาทิตย์ก็จะติดนิสัยไปเอง 
t        อย่างกรณีที่มีข้อบกพร่องเกิดขึ้น เช่น มีเสียงดังขณะสตาร์ทเครื่องหรือสตาร์ทเสร็จแล้ว คุณก็จะรู้ได้ทันที และต้องคอยสังเกตดูด้วยว่ามันจะดังช่วงไหนบ้าง เช่น ดังเฉพาะตอนช่วงเครื่องร้อนอย่างเดียว ดังมาจากข้างหน้า ด้านซ้ายหรือด้านขวา แล้วเสียงดังที่เกิดขึ้นมันเป็นอย่างไร ดังเหมือนเอาเหล็กตีกัน หรือดังแบบพลาสติกกระแทกกัน เพราะเหมือนจะมีอะไรมันจะหลุด แล้วมันดังมาจากตรงไหน เช่น พอเร่งที่ 4,000 รอบต่อนาทีแล้วมีเสียงดังแกรกๆ แล้วหายไป หรือดังมาจากใต้ท้อง หรือดังมาจากท้ายรถ เหล่านี้จะทำให้สามารถบอกช่างเพื่อทำการวิเคราะห์ได้ไม่ยากเย็นนัก

tttttttttt t

ttttttttt tttttttttt ttttttttt tt

tttttttttttt

t

tttttttttt t

ttttttttt tttttttttt ttttttttt tt tttttttttttt

tประสาทสัมผัสทางกลิ่น

tกลิ่นก็สำคัญมากๆ เพราะเป็นเรื่องไวสำหรับร่างกายของคนเรา เวลาขับแล้วได้กลิ่นไหม้ๆ ถ้าไม่แน่ใจก็จอดรถในที่ที่ปลอดภัยแล้วสำรวจดูว่า กลิ่นมันมาจากแถวๆ ไหน หรือจอดอยู่แล้วได้กลิ่นน้ำมันโชยมาเข้าจมูกจะได้ไหวตัวทัน ว่ากลิ่นนี้มันมาจากรถเราหรือเปล่า ถ้าใช่จะได้หาต่อไปว่ามันรั่วมาจากจุดไหน เพราะคุณสามารถหยุดยั้งหรือบรรเทาอันตรายที่จะเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดได้ โดยเฉพาะกลิ่นไหม้กับกลิ่นของน้ำมันนี่ต้องระวังให้ดี เพราะมันสามารถก่อให้เกิดความเสียหายได้อย่างที่คุณอาจจะคาดไม่ถึงเลยทีเดียว 
t        เหลือประสาทสัมผัสอย่างเดียวที่ไม่ต้องใช้ก็คือประสาทสัมผัสจากทางลิ้นนี่แหละ มันไม่มีอะไรซีเรียสถึงขนาดต้องเอามาชิมว่ามันเสียหรือไม่ เพราะชิ้นส่วนต่างๆ ในรถนั้นมันอาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายทั้งนั้น แค่นี้ก็สามารถช่วยให้ช่างทำการวิเคราะห์ได้ง่ายขึ้น ถ้าช่างวิเคราะห์ปัญหายาก อาจหาสาเหตุได้ไม่ตรงจุด และยังมีโอกาสที่จะโดนช่างที่เอารัดเอาเปรียบโกงได้อีกต่างหาก

เครดิต www.gmcarmagazine.com