ล้อแม็ก อยากหล่อต้องรู้วิธีเลือกให้ปลอดภัย

ออฟเซตคืออะไร

tเรื่องต่อมาที่ต้องรู้คือเรื่องระยะของออฟเซตของล้อ รถคุณนั้นออกแบบมาสำหรับออฟเซตล้อเท่าไหร่กัน เพราะค่าออฟเซตที่ผิดไปถ้ายัดไม่เข้ามันก็ล้นแนวตัวถังออกมา เวลาล้อมีการยุบตัวมากๆ ก็อาจจะเสียดสีกับตัวถัง หรือถ้าหุบเข้าไปข้างในมากจนอาจจะทำให้เลี้ยวแล้วติดด้านใน หรือล้อเบียดกับแกนโช้กอัพ หรือเสียดสีกับตัวถัง ระยะยาวก็จะทำให้ลูกปืนล้อ ลูกหมาก ฯลฯ สึกหรอเร็วกว่าปกติ รวมถึงอาจจะทำให้พวงมาลัยหนักขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อย
t          ค่าออฟเซตคือค่าที่วัดจากกึ่งกลางความกว้างของกระทะล้อกับหน้าแปลนของล้อที่จะไปสัมผัสกับดุมล้อ
t          ค่าออฟเซตที่เป็น 0 แสดงว่ากึ่งกลางของความกว้างล้อนั้นจะตรงกับแนวหน้าแปลนพอดี
t          ออฟเซตที่เป็นบวกแสดงว่ากึ่งกลางของความกว้างล้อจะขยับเข้าไปหาตัวรถ เป็นสไตล์ของล้อสำหรับรถขับเคลื่อนล้อหน้า และรถขับหลังฝั่งญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 1990 เป็นต้นมา
t          ส่วนออฟเซตที่เป็นลบนั้นหมายความว่า แนวกึ่งกลางของล้อนั้นขยับออกด้านนอกตามแนวตัวถังรถ เป็นลักษณะของรถขับเคลื่อนล้อหลังยุคเก่าๆ ปัจจุบันแทบจะไม่มีแล้ว
t          ในรถทั่วไป การเปลี่ยนล้อต้องคำนึงถึงระยะออฟเซตเป็นสำคัญเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาดังที่กล่าวมา ซึ่งผู้ผลิตล้อแม็กจะออกแบบล้อมาให้เลือกหลายออฟเซตตามที่รถส่วนใหญ่มีใช้ ถ้าจะเปลี่ยนล้อไม่จำเป็นต้องหน้ากว้างมาก ยิ่งกว้างมากยางยิ่งแพงและอาจจะต้องตัดเฉือนตัวถัง เลือกหน้ากว้างพอดีๆ ออฟเซตพอดีๆ ก็สวยเต็มซุ้มล้อแล้วครับ

ttttttttt tttttttttt ttttttttt tt

tttttttttttt

t

tล้อและยางมีออกแบบมาสำหรับรถเฉพาะแบบ

tโดยเฉพาะผู้ที่ใช้รถ SUV หรือ MPV หรือแม้แต่รถกระบะทั้งหลายต้องระวังไว้ให้ดี พวกที่ชอบเอาล้อของรถเก๋งมาใส่ แม้ว่ามันจะใส่ได้พอดี แต่เรื่องน้ำหนักมันอาจจะรับไม่ไหวเมื่อเกิดการกระแทกหรือเกินขีดจำกัดของล้อ อาจจะทำให้ล้อแตกหักขณะที่รถกำลังวิ่ง
t          ในความเป็นจริงนั้น เจ้าของรถต่างหากที่นำล้อมาใช้แบบผิดประเภท ที่หลังล้อจะมีการปั๊มดัชนีการรับน้ำหนักของล้อแต่ละวงเอาไว้ เช่น 500 kg แสดงว่าล้อวงนั้นรับน้ำหนักสูงสุดได้ไม่เกิน 500 กิโลกรัม ในรถ 4 ล้อก็จะกลายเป็น 2,000 กิโลกรัม เพราะเป็นการใช้น้ำหนักเฉลี่ย หมายความว่ารถและน้ำหนักบรรทุกต้องไม่เกิน 2,000 กิโลกรัมจึงจะปลอดภัย
t          รวมถึงดัชนีการรับน้ำหนักของยางก็ต้องสัมพันธ์กัน ไม่ใช่ว่าล้อรับน้ำหนักได้ 500 กิโลกรัม แต่ไปเลือกยางที่รับน้ำหนักได้ 350 กิโลกรัมต่อเส้น แบบนี้ก็ทำให้เกิดอันตรายได้ง่าย
t          การคำนวณก็ไม่ใช่เรื่องยาก เปิดสเปคดูน้ำหนักรถเปล่าแล้วเอามาบวกจำนวนคนนั่ง เฉลี่ยไปสัก 5 คน คนละ 70 กิโลกรัมเป็นอย่างต่ำ รวมถึงน้ำหนักที่ต้องบรรทุกสูงสุด บวกกันแล้วหาร 4 ก็จะรู้ว่าล้อและยางแต่ละเส้นต้องรับน้ำหนักได้เท่าไหร่
t          เคยพบเจอมาในรถตู้ที่แต่งสวยๆ มีปัญหาเรื่องยางบวมบ้าง ล้อแตกบ้างอยู่บ่อยๆ มานั่งพิจารณายางและล้อถึงได้พบว่าเอาของรถเก๋งมาใช้ ทำให้ดัชนีการรับน้ำหนักผิดเพี้ยนไปมาก กระแทกไม่แรงมากยางก็บวม กระแทกแรงมากล้อแตกด้วยเลยก็มี ดังนั้นจะเอาสวยอย่างเดียวโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยมันก็ไม่เหมาะ

tttttttttt t

ttttttttt tttttttttt ttttttttt tt tttttttttttt

t

tหลายปัญหาหลังจากเปลี่ยนล้อ

tแม้ว่าล้อที่เปลี่ยนใหม่จะมีค่า PCD และออฟเซตถูกต้อง แต่พอเอาไปวิ่งแล้วเกิดอาการสั่นสะท้าน ถ่วงแล้วก็ไม่หายเพราะมองข้ามบางสิ่งบางอย่างไป มักเป็นเพราะว่าร้านไม่ได้ให้คำแนะนำในเรื่องของ Center Hub
t          เนื่องจาก Center Hub ของหน้าแปลนล้อกับล้อที่เปลี่ยนใหม่มักไม่เท่ากัน เมื่อมีระยะห่างเล็กน้อย เวลาล้อหมุนด้วยความเร็วรอบสูงๆ จะเกิดการแกว่ง แม้เพียงเล็กน้อยก็จะทำให้เกิดอาการสั่นสะท้านแล้ว
t          เส้นผ่านศูนย์กลางของ Center Hub แม้ว่าคุณจะเลือกค่า PCD และออฟเซตได้อย่างถูกต้อง แต่ถ้าค่า Center Hub ไม่เท่ากับหน้าแปลนของดุมล้อก็มีปัญหาอีก ถ้าเล็กกว่าก็ยัดไม่เข้า ถ้าใหญ่กว่าก็จะทำให้ล้อแกว่งหรือส่ายขึ้นมาอีก
t          ประเภทที่ถ่วงจี้กันหลายๆ ครั้งก็ไม่หาย ลองย้อนกลับมาดูที่ตัวนี้กันสักหน่อย ถ้ามันไม่ฟิตพอดีก็ก่อปัญหาตามมาได้มาก แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไรนัก เพราะสามารถดัดแปลงได้ไม่ยากเย็น

 

t
t           กรณีที่หลวม คือดุมที่ล้อแม็กใหญ่กว่าก็ให้โรงกลึงทำปลอกขึ้นมาเพื่อให้ฟิตพอดี ถ้ามันเล็กกว่าก็สามารถกลึงให้กว้างขึ้นได้ ซึ่งไม่มีผลต่อเรื่องความแข็งแรงของล้อแม็ก เนื่องจากส่วนนี้มีเนื้อที่เหลือพอสำหรับการดัดแปลง แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมีแหวนรองสำหรับทำให้ล้อฟิตพอดีกับหน้าแปลนล้อ แต่ถ้าไม่มีก็สามารถกลึงได้อย่างที่บอกไปข้างต้น แล้วปัญหาที่ว่านี้ก็จะไม่เกิดขึ้น
t          อีกเรื่องหนึ่งที่มองข้ามไม่ได้เลยคือเรื่องของนอตล้อ เป็นเรื่องที่หลายคนไม่เข้าใจว่าเวลาเปลี่ยนล้อใหม่ทำไมต้องเปลี่ยนนอตล้อด้วย ทั้งๆ ที่ของเดิมก็น่าจะใช้ได้ ที่ต้องเปลี่ยนเพราะว่าหน้าแปลนของนอตกับรูนอตที่ล้อต้องสัมพันธ์กัน
t          ถ้าล้อออกแบบมาเป็น Taper หรือเป็นหน้าแปลนเฉียงก็ต้องเปลี่ยนนอตให้เป็น Taper เช่นกัน เพราะจะได้ฟิตพอดี เนื่องจากล้อต้องรับภาระน้ำหนักของรถทั้งคัน เพราะถ้าเลือกนอตไม่ถูกอาจทำให้นอตเกิดการหลวมคลอนได้ง่าย จะส่งผลต่อความปลอดภัยในการขับขี่โดยตรง
t           เมื่อนอตล้อหลวมคลอนก็จะทำให้ล้อแกว่งและหลุดในที่สุด ฉะนั้นต้องดูที่ล้อใหม่ว่าสเปคเป็นอย่างไร ปัจจุบันนอตล้อมีใช้ด้วยกันหลายแบบแต่หน้าแปลนแบ่งเป็น 3 แบบ

  t          แบบแรกพูดถึงไปแล้ว แบบที่สองจะเป็นแบบ Radius หน้าแปลนจะมีความโค้งมน ส่วนมากใช้กับกระทะล้อเหล็ก แบบสุดท้ายเป็นแบบ Flat จะเป็นหน้าแปลนแบบเรียบ แบบนี้รูนอตที่ล้อจะค่อนข้างใหญ่เพราะตัวนอตมีลักษณะเป็นเหมือนบูชในตัว
t          การที่ต้องมีหน้าแปลน อีกเหตุผลก็เพราะว่าต้องการให้ล้อได้เซ็นเตอร์ เพราะรูนอตที่กระทะจะใหญ่กว่าตัวนอตมากเพื่อให้ใส่ล้อได้ง่าย หน้าแปลนแบบต่างๆ จะช่วยทำให้ล้อได้เซ็นเตอร์เมื่อไขจนแน่นได้ที่ การไขนอตล้อจึงจำเป็นจะต้องไขสลับกันโดยเน้นด้านตรงข้ามก่อนและจะไม่ไขแน่นทีเดียว จะต้องไล่ด้วย แรงไขที่เท่าๆ กันทีละนิดจนกว่านอตจะแน่นทั้งหมด
t           การแต่งเติมเสริมหล่อนั้นไม่ใช่เรื่องใหญ่เพราะเป็นเรื่องที่เจ้าของรถส่วนใหญ่อยากทำอยากให้รถตัวเองสวยงาม เพียงแต่ว่าการเลือกใช้ล้อและยางนั้นต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของตนเองและผู้ที่โดยสารไปด้วยเป็นสำคัญ ถ้าจะเปลี่ยนเป็นนอตอะลูมิเนียมสวยๆ ก็ต้องซื้อประแจถอดล้อดีๆ ไว้ด้วย อย่าใช้ปืนลมเด็ดขาดเพราะจะทำให้เกลียวเสียหายได้
t           เนื่องจากเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่เรามองข้ามนั้นมันมีผลโดยตรงต่อความปลอดภัย ทุกครั้งที่มีการถอดใส่ล้อ เช่น การปะยางหรือสลับยางต้องให้ร้านเช็กความแน่นหนาให้เรียบร้อย ต้องปล่อยรถลงจากแม่แรงแล้วใช้ประแจขันด้วยมือซ้ำอีกครั้ง หรือถ้าจะให้ดีก็ใช้ประแจปอนด์ไขซ้ำ อย่าไว้ใจบล็อกลมเด็ดขาด แม้จะดูว่าแน่นกว่าการไขด้วยแรงคน แต่บ่อยครั้งไปที่มันไม่แน่นอย่างที่คิด

เครดิต www.gmcarmagazine.com