Toyota สวีเดน ออกมาตอบ : กรณี Hilux Revo สอบตก Moose test

ย้อนหลังกลับไปเมื่อ 9 ปีก่อน ทาง Teknikens Varld.se เคยมีการทดสอบหักหลบสิ่งกีดขวางแบบ ซ้าย-ขวา-ขวาอย่างรวดเร็ว และมีการประกาศผลว่าToyota Hilux (สเป็คสวีเดน) สอบตก เนื่องจากตัวรถมีแนวโน้มที่จะพลิกคว่ำระหว่างการหักหลบได้แม้ว่าจะไม่ได้ใช้ความเร็วสูงกว่าคู่แข่งก็ตาม

เช้านี้ ในเดือนตุลาคม ปี 2016 ดูเหมือนประวัติศาสตร์หน้าเดิมจะย้อนกลับมาเยือน Toyota อีกครั้ง เมื่อสื่อมวลชนเจ้าเดิม ได้ทำการทดสอบหักหลบซ้ายขวาอย่าง รวดเร็ว (Moose Test) และให้ความเห็นว่า ระยะเวลาที่ผ่านไปไม่ได้ทำให้ Hilux รุ่นใหม่นั้นดีขึ้นอย่างที่ควรเป็น

ทั้งนี้ ก่อนอ่านบทความ ที่เหลือ ผมอยากให้ทำความเข้าใจกันก่อนว่า
1. บทความนี้ไม่ได้ทำมาเพื่อฟันธง ว่าใครห่วย ใครเจ๋ง แต่พูดกันตามที่เห็น และใช้ข้อมูลที่แปลมาจากเว็บไซต์ของทาง Teknikens Varld เอง
2. รถ Hilux Revo คันสีแดง เป็นรถสเป็คสวีเดน ซึ่งเป็นรุ่นที่ใช้ล้อขอบ 18 นิ้ว
3. ทาง Teknikens Varld ได้ทำการทดสอบรถรุ่นที่ใช้ล้อ 17 นิ้วเหมือนของ ประเทศไทย และพบว่าอาการตอบสนองของรถ มีลักษณะเป็นอันตรายน้อยกว่า แต่ก็ยังไม่ดีเท่าคู่แข่ง
4. รถปิคอัพทุกคันที่เข้าทดสอบครั้งนี้ มีระบบควบคุมเสถียรภาพการทรงตัว
5. ในการทดสอบ Moose Test โดยปกติจะมีการบรรทุกน้ำหนักเต็มอัตรา
ตามที่ผู้ผลิตแจ้งกับทางเว็บไซต์ ซึ่งของ Hilux แจ้งไว้ 1,002 กิโลกรัมก็จริง แต่เวลาทดสอบจริง ทาง Teknikens Varld ใส่น้ำหนักบรรทุกไปแค่ 830 กิโลกรัม (รวมคนขับและผู้โดยสาร 4 คน)

โดยที่เว็บไซต์ของ Teknikens Varld ได้มีการเขียนอธิบายเอาไว้เอาไว้ว่า จะรักษาความเร็วก่อนหักเลี้ยวเอาไว้ที่ 37 ไมล์/ชม. (59.2 กิโลเมตร/ชม.) ซึ่งเป็นความเร็วที่พวกเขาเชื่อว่ารถส่วนมาก ควรจะผ่านได้โดยไม่เกิดเซอร์ไพรส์ ภายใต้เงื่อนไขการทดสอบที่กำหนด เช่นจำนวนผู้โดยสารและการบรรทุกน้ำหนัก

แปลจากภาษาอังกฤษบนเว็บไซต์โดยตรง Oskar Kruger ผู้ขับทดสอบได้ ให้สัมภาษณ์เอาไว้ว่า

“ตอนหักเปลี่ยนเลนครั้งแรก ทุกอย่างดูปกติดีครับ แต่พอหักกลับอีกทางหนึ่ง จู่ๆก็รู้สึกได้ว่ายางเกาะถนนมากเกินไป ผมพยายามอย่างมากในการพารถกลับมาอีกเลนหนึ่ง โดยที่ไม่รู้ตัวเลยว่ารถกำลังจะคว่ำ แต่พอล้อยกผมก็แก้พวงมาลัยคืนแล้วล้อก็กลับมาอยู่บนถนน”

หลังจากที่ Teknikens Varld ได้ทำการทดสอบ พวกเขาได้ให้ข้อสรุปว่า

Conclusion
Something is seriously wrong with Toyota’s dynamic safety system,
and the result is dependent on the tires the car is equipped with.

(ระบบควบคุมการทรงตัวของรถ Toyota ทำงานไม่ดีอย่างที่ควรจะเป็น
และผลการทดสอบส่วนหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า Hilux คันนั้นใช้ยางอะไรด้วย)

ในเว็บไซต์ของ Teknikens Varld ยังได้มีการเผย คำตอบกลับจาก Bengt Dalstrom ซึ่งเป็นผู้จัดการใหญ่ฝ่าย PR ของ Toyota Sweden ตามภาพ ซึ่งแปลได้ว่า

“ตามที่เราได้ทดสอบหลากหลายแบบในระหว่างพัฒนารถรุ่นนี้ เรามั่นใจว่า
Toyota Hilux เป็นรถที่ปลอดภัย ตามที่เราเห็นจากการทดสอบของคุณนั้น คุณได้ทดสอบในลักษณะหักหลบสิ่งกีดขวางกับรถของเรา และรถจากค่ายอื่นๆ และยังได้แจ้งผลการทดสอบมาให้เราโดยกล่าวว่า “ไม่ดีตามที่ควรเป็น” เรารู้สึกแปลกใจกับผลทดสอบดังกล่าว และจะนำไปพิจารณาอย่างจริงจัง โดยให้ความสำคัญเท่ากับการทดสอบหักหลบสิ่งกีดขวางที่เราได้ทำไปในระหว่างทดสอบรถของเรา Hilux ได้ถูกทดสอบตามมาตรฐาน ISO3888 สำหรับเรื่องการหักหลบสิ่งกีดขวางมาแล้วและผ่านมาได้ด้วยดี บางอย่างที่ใช้หรือทำในการทดสอบของคุณอาจส่งผลให้รถตอบสนองต่อการหักเลี้ยวต่างกันออกไป ดังนั้นเราจึงขอทราบมาตรฐานต่างๆที่ใช้
สำหรับการทดสอบของคุณหากเป็นไปได้”

ฟังดูเป็นภาษา PR แต่โปรดเข้าใจเถิดครับว่าการทำงานในองค์กรใหญ่ การที่จะตอบสิ่งต่างๆกับสื่อมวลชนนั้น คนในตำแหน่งบริหารเองก็ไม่สามารถใช้ภาษาง่ายๆหรือตอบได้ตามใจชอบอย่างที่เราอยากได้ยิน

 

>>>เทียบแบบช็อตต่อช็อต<<<

เนื่องจากหลายท่านคงไม่สะดวกดูคลิปแล้วกด Pause ไปเรื่อยๆ พี่แพนขออาสา
Capture ภาพในช็อตต่างๆโดยเทียบกันแบบรุ่นต่อรุ่นอย่างชัดเจนขึ้น

รูปที่ 1 – จังหวะที่คนขับเริ่มหักเลี้ยวซ้ายแรก

อย่างที่เห็นคือ ไม่มีอะไร (ยังไม่ทันทำอะไรเลย ถ้ามีก็แปลกสิ)
สังเกตได้อย่างหนึ่งว่า เมื่อทาง Teknikens Varld ทำการทดสอบรถ Hilux ที่เป็นล้อ 17 นิ้ว พวกเขากลับทำที่คนละสนาม (หรือคนละจุดของสนามทดสอบ) ซึ่งไม่ทราบเหมือนกันว่าทำไมไม่ทดสอบจุดเดียวกัน??

ทราบภายหลังว่า สนามทดสอบของรายการนี้มี 2 แห่ง คลิปเก่าๆก่อนหน้านี้ จะใช้สนามเดียวกับ Vigo และ Revo สีเงินล้อ 17 นิ้ว หลังจากนั้นคลิปใหม่ ดังที่เราเห็นกันปัจจุบัน จะเป็นสนามแห่งใหม่

 

รูปที่ 2 – จุดที่รถเริ่มมีการยวบตัว

อย่างที่ Oscar บอก คือในการหักเลี้ยวจังหวะแรก ดูเหมือนรถยังไม่มีปัญหา อะไรเลย พิจารณาจากภาพจะเห็นได้ว่า Revo คันสีแดงและรถกระบะคันอื่นๆมีลักษณะการยวบตัวที่ไม่ได้ต่างกันมาก และ Mitsubishi ดูเหมือนจะยวบ มากกว่าใครเสียด้วยซ้ำ

 

รูปที่ 3 – จุดที่รถคืนตัวกลับมาอยู่ตำแหน่งขนานพื้น

นี่คือจุดที่ตัวรถดีดคืนจากการยวบขวา มาอยู่ในตำแหน่งที่บอดี้รถจะขนาน
ไปกับพื้นและเตรียมตัวที่จะยวบข้างซ้าย เมื่อหักเลี้ยวขวาต่อไป สังเกตดู
ยังไม่พบสิ่งผิดปกติ แต่แฟน Ford อาจจะเห็นได้ว่า Ranger คืนตัวตั้งตรง
ได้ก่อนรถคันอื่น ตามมาด้วย Revo ล้อ 17 (เป็นการกะจากตำแหน่งกรวย
ซึ่งผมเข้าใจว่ามีโอกาสพลาดได้เหมือนกัน..แต่ลองเล็งกันดูครับ)

 

รูปที่ 4 – จุดที่รถเริ่มมีการหักเลี้ยวไปทางขวา

ณ จุดนี้ ให้สังเกตว่าล้อหลังของรถอยู่ชิดกรวยแค่ไหน และล้อหน้าวงนอกโค้งปาดเข้าไปใกล้กรวยชุดขวาสุดมากเพียงใด ถ้าไม่ใช่เพราะกล้องหลอกตาหรือแอบวางกรวยให้ชิดกัน คุณสังเกตไหมว่าคุณสามารถมองเห็น “บอดี้ด้านข้าง”ของ Revo คันสีแดงได้มากกว่าคันอื่น จุดนี้ เป็นไปได้ว่ารถ Hilux แดงเริ่มเกิดอาการอันเดอร์สเตียร์ หน้าดื้อ

 

รูปที่ 5 – พยายามตั้งลำตรง

จุดนี้ รถกำลังพยายามเลี่ยงไม่ให้มีการปะทะกรวยชุดที่อยู่ขวาสุดของจอ
จะสังเกตได้ว่าทุกคัน รวมถึง Hilux คันสีเงินที่ล้อ 17 สามารถกลับมาตั้งลำตรง (หรือเกือบตรง) ได้แล้ว ในขณะที่ Hilux คันสีแดง เบียดชิดกรวยในด้านขวาสุดมากกว่าคันอื่น และเรายังเห็นด้านข้างของรถได้มากกว่าคันอื่นบางอย่างที่ซีเรียสมากเกิดขึ้น ระบบควบคุมการทรงตัวอาจกำลังพยายามแก้อาการคืนอยู่

 

เครดิต www.headlightmag.com