ถ้า “งง” กับการเลือกซื้อน้ำมันเครื่องมาทางนี้

คงเป็นเรื่องปวดหัวไม่ใช่น้อยสำหรับผู้ใช้รถมือใหม่ ที่ต้องการเลือกซื้อน้ำมันเครื่องมาเปลี่ยนให้กับรถคันเก่งด้วยตัวเอง เพราะเมื่อเจอรายละเอียดข้างกล่องเยอะแยะเต็มไปหมด และดันไม่รู้ว่ามันหมายถึงอะไร ทำให้การเลือกซื้อด้วยตัวเองนั้นแถบเป็นไปไม่ได้เลย วันนี้เราจะมาแนะนำส่วนที่จำเป็นในการเลือกซื้อน้ำมันเครื่องกันครับ

1. ต้องรู้ก่อนว่ารถคันเก่งของเราใช้เบอร์น้ำมันเครื่องเบอร์อะไร
ข้อมูลส่วนนี้จะระบุไว้ที่คู่มือรถแต่ละรุ่น เมื่อรู้แล้วก็เลือกซื้อให้ตรงกับสเปก เริ่มกันที่เบอร์น้ำมันเครื่องก็คือชุดตัวเลขที่เราจะเห็นอยู่ข้างกล่อง เช่น 0W-20, 0W-30, 5W-40 ฯลฯ จะขออธิบายดังนี้
ค่า W ตัวเลขหน้าตัวอักษร W หมายถึง ความต้านทานการเป็นไขของน้ำมันเครื่อง ย่อมาจาก Winter โดยแต่ละตัวเลขมีความหมายดังนี้
0W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ ต่ำกว่า -30 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
5W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง -30 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
10W= สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง -20 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
15W= สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง -10 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
20W= สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง 0 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
* ถ้าดูจากข้อมูลแล้วจะพบว่าประเทศไทยของเราสามารถใช้ได้ทุกเบอร์เพราะประเทศไทยเป็นเมืองร้อน

ค่าตัวเลข 2 หลักด้านหลังตัว W หลังหมายถึงค่าความหนืดของน้ำมันเครื่อง โดยจะเรียกเป็นเบอร์เพื่อให้เป็นมาตรฐานสากลเหมือนกันทั่วโลก เช่น 60, 50, 40, 30, 20, 10 และ 5 ค่าตัวเลขยิ่งมากยิ่งมีความหนืดมาก ตัวเลขน้อยยิ่งมีความหนืดน้อยตามลำดับ ส่วนใหญ่รถรุ่นใหม่ๆ จะใช้ความหนืดระหว่าง 20-40

2. ต้องรู้ว่าเครื่องยนต์ของเราเป็น เครื่องยนต์เบนซิน หรือ ดีเซล เพราะเครื่องทั้ง 2 แบบใช้น้ำมันเครื่องคนละชนิดกัน (จริงๆ พอจะใช้ข้ามสลับกันได้บ้างแต่ไม่ข้อพูดถึงนะครับ) ข้อนี้ง่ายมากเราแค่ต้องรู้ก่อนว่ารถของเราใช้เครื่องยนต์แบบไหน ดูจากคู่มือรถหรือถามเพื่อนๆ ในกลุ่มก็ได้เชื่อว่าคนส่วนใหญ่รู้นะ เมื่อรู้แล้วตอนไปเลือกซื้อก็บอกคนขายเลย ผมต้องการซื้อน้ำมันเครื่องสำหรับรถ “เบนซิน” “ดีเซล” ก็ว่าไป

3. ต้องรู้ว่าจะต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องอีกทีเมื่อไหร่



น้ำมันเครื่องจะมีการแบ่งเกรดเอาไว้เป็น 3 ระดับ เลือกซื้อแบบไหนก็ได้ที่สำคัญคือต้องเปลี่ยนถ่ายตามระยะที่กำหนด
1. น้ำมันเครื่องธรรมดา เกรด SA – SC / CA – CE จะมีกำหนดการเปลี่ยนถ่ายที่ 3,000 – 5,000 กิโลเมตร
2. น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ เกรด SG – SM / CF4 – CG4 จะมีกำหนดการเปลี่ยนถ่ายที่ 5,000 – 15,000 กิโลเมตร
3. น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ เกรด SJ – SM / CH4 – CI4 จะมีกำหนดการเปลี่ยนถ่ายที่ 10,000 – 20,000 กิโลเมตร

* ราคาน้ำมันเครื่องจะแพงขึ้นตามเกรดโดยน้ำมันเครื่องสังเคราะห์จะมีราคมแพงที่สุด

ตัวอย่างการอ่านคำอธิบาย
Fully Synthetic = น้ำมันเครื่องสังเคราะห์แบบเต็มขั้น
SAE 5W-30 = มาตรฐานความข้นใส รับรองโดยสถาบัน SAE เบอร์ 30 ค่าต้านทานความเป็นไข 5W หรือ – 30 องศาเซลเซียส
API SM/CF = ค่ามาตรฐานรับรองโดยสถาบัน API ในการใช้กับเครื่องยนต์เบนซิล ในระดับ SM ส่วนถ้าใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลในระดับ CF เท่านั้น

ตัวอย่างการอ่านคำอธิบาย
SAE 10W-40 = มาตรฐานความข้นใสจากสถาบัน SAE เบอร์ 40 ค่าต้านทานความเป็นไขที่ 10W หรือ -20 องศาเซลเซียส
API SM/CF = ค่ารับรองมาตรฐานจากสถาบัน API ในการใช้กับเครื่องยนต์เบนซิล ในระดับ SM และดีเซลในระดับ CF
PREMIUM GRADE SEMI – Synthetic = เป็นน้ำมันเครื่องแบบกึ่งสังเคราะห์ เกรดดีเยี่ยม
FOR NGV, LPG & GASOLINE = ใช้ได้กับเครื่องยนต์ แบบใช้แก๊ส NGV หรือ LPG และเครื่องยนต์เบนซิลทั่วไป

เครดิต www.heremoo.com