เครื่องยนต์ กับตำแหน่งการวาง มีแบบไหนบ้าง แต่ละแบบมีข้อดี ข้อเสียอย่างไร

สวัสดีครับเพื่อนๆ กับมาพบกับ เกร็ดความรู้เกี่ยวกับรถยนต์ ที่เรานำมาให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันนะครับ หลายสิบปีที่ผ่านพ้นไป ส่วนตัวผมเจอรถซิ่งมามากมายหลายคัน ที่ผ่านเข้ามาในสายตา แต่มีสิ่งหนึ่งที่ผมสังเกตในทุกๆ คัน คือ ตำแหน่งการวางเครื่องยนต์ ซึ่งด้วยอายุอนาตอนนั้น ที่ค่อนข้างเด็ก ทำให้เข้าใจแค่เครื่องยนต์มีแค่วางหน้า โตขึ้นมาก็รับรู้ว่ามีเครื่องยนต์วางหลัง เอาละสิ..พอโตขึ้นมาเริ่มเห็น เริ่มงงว่ามีการวางแนวขวาง แนวยาวอีก ทีนี้ผมบอกตรงๆ ว่า “เงิบ” จึงพยายามหาข้มมูลมาเพื่อให้ตัวเองกระจ่าง และก็มานึกขึ้นได้ว่า เพื่อนๆ หลายๆ คน อาจจะต้องเคยเป็นอย่างผมบ้างไม่มากก็น้อย วันนี้จึงจะพาเพื่อนๆ มารู้จักกับตำแหน่งการวางเครื่องยนต์ ว่าบนโลกกลมๆ ใบนี้ การใส่หัวใจให้รถยนต์ 1 คัน เขามีวิธีการใส่กันแบบไหนบ้าง ?

ก่อนที่จะเข้าเรื่อง มีสิ่งหนึ่งที่จะอธิบายก่อนว่า ตำแหน่งเครื่องยนต์คือ อะไร ? คำตอบคือ จุดที่เหล่าวิศวะกรณ์ที่ออกแบบรถคันนั้นๆ กำหนดให้เครื่องยนต์ไปประจำการอยู่ เพื่อสิ่งที่พวกเขาเรียกว่า สมดุล นั่นเองครับ ซึ่งทางวิศวกรจะกำหนดจุดโดยอิงจากการออกแบบบอดี้ของรถ โดยส่วนใหญ่จะให้อิงจาก แกนล้อ นั่นเองครับ

เครื่องยนต์วางหน้า ( Front-Engine )

เปิดมาที่สูตรสำเร็จการวางเครื่องยนต์กันเลยเพราะว่า การวางแบบนี้ พบเห็นได้บ่อยที่สุด ไม่ว่าจะเป็นรถบ้านๆ ไปจนถึงรถ Sport แรงม้าสูงๆ เลยครับ ข้อดีของการวางเครื่องยนต์แบบนี้คือ การออกแบบที่ง่ายมากๆ รวมไปถึงเนื้อที่ภายในของห้องโดยสารที่จะกว้างขึ้นมากอีกด้วย แต่การวางแบบนี้ ก็ยังสามารถวางได้ทั้งตามยาว และตามขวาง ซึ่งการวางส่วนใหญ่แล้ว จะอิงกับเลย์เอาท์ของระบบขับเคลื่อน หากวางขวางจะเป็นขับหน้า หรือขับ 4 แต่ถ้าวางเครื่องแนวยาว มักจะเป็นการขับเคลื่อนล้อหลังนั่นเองครับ สำหรับเรื่องการขับเคลื่อน เราจะมาเพื่อนมาทำความรู้จักกันในโอกาสต่อไปนะครับ

วางหน้า หลังแนวแกนล้อ (Front-Midship)

การวางแบบต่อมานั้น เริ่มพบเจอได้ยากมากขึ้น เพราะส่วนใหญ่จะอยู่ในรถที่มาในรูปแบบสปอร์ต หรือแม้กระทั้ง Supercars บางรุ่น ก็มีการวางเครื่องยนต์แบบนี้ให้เห็น โดยที่การวางเครื่องยนต์แบบนี้คือ การวางเครื่องยนต์ให้อยู่หลังแนวแกนล้อ ซึ่งหมายความว่า เครื่องยนต์ต้องมีขนาดที่กะทัดรัด ไม่ใหญ่จนเกินไป หรือถ้าเครื่องยนต์ใหญ่ หน้ารถก็จำเป็นที่จำต้องยาว ฉะนั้นข้อเสียจะโผล่มาเป็นเงาตามตัว ด้วยการบังคับเลี้ยวที่ยาก แต่ทว่า…ในย่านความสูงๆ นั้น การวางเครื่องยนต์แบบนี้ จะสามารถทำให้นำหนักถูกกระจายออกไป ทำให้รถมีความสมดุลมากขึ้นจนผิดหูผิดตาเลยทีเดียว ซึ่งการวางเครื่องยนต์แบบนี้ จะมีแต่แนวยาวเท่านั้น เพราะจะเป็นการส่งกำลังไปที่ล้อหลังเป็นส่วนใหญ่

วางหลัง หน้าแกนล้อ (Mid or Midship)

ครั้งแรกที่ผมรู้จักการวางเครื่องยนต์แบบนี้ ก็ตอนที่ไปพบกับ Honda NSX ที่ครั้งแรกผมงงๆ ว่าทำไมเครื่องยนต์ไปอยู่ตรงนั้น จนมาหาข้อมมูลและไปพบกับ ชสุดยอดซูเปอร์คาร์ Lamborghini Miura ที่ก็ใช้การวางเครื่องยนต์ใว้ที่เดียวกัน โดยข้อดีของการวางแบบนี้คือ เครื่องยนต์จะถูกวางไว้ที่จุดศูนย์กลางของรถพอดี ทำให้การกระจ่ายน้ำหนังของรถทำได้ดี รวมไปถึงการใช้ความเร็วที่เครื่องยนต์สามารถส่งกำลังไปยังแกนล้อได้อย่างรวดเร็ว แต่เท่าที่อ่านๆ มาก็พบว่า บางครั้งมันก็เหมือนเป็นดาบสองคม เพราะว่า การที่เครื่องยนต์วางหลัง ทำให้หน้ารถเบา หากมีการกดเบรคหนักๆ บวกกับพื้นลื่นๆ อาจทำให้รถหมุนได้นั่นเองครับ

วางท้ายรถหลังแกนล้อ (Rear – Engine)

ปิดท้ายกันด้วยเครื่องยนต์วางแบบที่ไม่เกรงใจหลักฟิสิกข์กันเลย ด้วยการเอาเครื่องยนต์น้ำหนักเกือบ 100 กก. ไปถ่วงไว้ที่ท้ายรถ ลองนึกภาพเพื่อนๆ เหวี่ยงแท่งเหล็กที่ปลายมีตุ้มถ่วง มันจะทำให้เกิดแรงเหวี่ยงที่มหาศาล เทียบกับรถเมื่อกดเบรคหน้า จะทำให้ท้ายรถสะบัดด้วยแรงเวี่ยงอันมหาศาล ซึ่งเป็นคาแร็กเตอร์เฉพาะ ที่อาจทำให้หลายๆ คนหลงรัก โดยเฉพาะกับสุดยอดสปอร์ตอย่างตระกูล Porsche 911 ที่เรายังคงพบเห็นอยู่ในปัจจุบัน

เครดิต www.boxzaracing.com