เครื่องยนต์ Rotary กับที่สุดแห่งการโมดิฟายในรหัส R26B แบบ 4 Rotors

สำหรับเพื่อนๆ นักซิ่งที่เกินมาในยุค 90 รถหนึ่งรุ่นที่เรียกได้ว่าเป็นขวัญใจแห่งยุค มาพร้อมกับเครื่องยนต์สุดแปลก นั่นก็คือ เจ้า Mazda RX-7 กับเครื่องยนต์ Rotary แบบสูบหมุนประจำตัวมันนั่นเอง แต่ถ้าพูดกันถึงความแรง เครื่องยนต์ Rotary สามารถให้กำลังที่สูงมากๆ ด้วยการสันดาปจาก Rotor เพียงแค่ 2 ตัว เท่านั้น แรงม้าที่ได้จากโรงงานก็ไม่น้อยกว่า 200 ตัว เข้าไปแล้ว ทำให้ตัวของมันอาจเรียกได้เป็นเครื่องยนต์ที่ให้พละกำลังได้สมบูรณ์แบบที่สุดที่เคยมีมาเลยก็ว่าได้ แต่น่าเสียดายที่เครื่องยนต์ Rotary ต้องถูเก็บเข้ากรุไป ด้วยเหตุผลหลายๆ ประการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของมลภาวะ รวมไปถึงอัตราการบริโภคน้ำมันที่ค่อนข้างดุเดือด ทำให้ครื่องยนต์ Rotary ค่อยๆ เสื่อมความนิยมและถูกเก็บขึ้นหิ้งไปในที่สุด

แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยตำนานแห่งความแรงและความสมดุลของการหมุน ทำให้มันก็ยังคงเป็นเครื่องยนต์ที่นักซิ่งหลายๆ คน ทำการโมดิฟายมันขึ้นมา ทั้งเพื่อการแข่งขับและใช้งานบนท้องถนน แต่ถ้าหากพูดถึงที่สุดแห่งการโมดิฟายเครื่อง Rotary แล้วล่ะก็ คงต้องยกให้กับการอัพเกรดให้มันกลายเป็นสุดยอดหัวใจแห่งกลไกการขับเคลื่อน ด้วยการเพื่ม Rotor เพิ่มเข้าไปอีก 2 โรเตอร์ จนมันกลายเป็นเครื่องยนต์ 4 โรเตอร์ ขนาด 2.6 ลิตร หรือชื่อย่างเป็นทางการว่า R26B ซึ่งเราจะเห็นกันบ่อยที่สุด ก็ในรถของนั่งซิ่งสายบ้าคลั่งอย่าง MAD Mike ซึ่งวันนี้ เราจะมาชมการทำงานของเครื่องยน Rotary แบบที่เป็น 4 Rotors กันครับ

ข้อดีของการทำงานของเครื่องยนต์แบบ 4 Rotors นั้น ประการแรกคือ ความ Smooth ของเครื่องยนต์ที่เพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นยังมีเรื่องของความสมดุล และรวมไปถึงการให้พลังงานที่เรียกได้ว่าเสถียรมากกว่าเดิมหลายระดับ หากเพื่อนที่เข้าใจการทำงานของเครื่องยนต์ Rotary อยู่แล้ว ก็คงจะเข้าใจในส่วนต่อไปไม่ยาก แต่เราจะอธิบายเพื่อนๆ ที่ไม่รู้จักเครื่องยนต์แบบนี้กันก่อนนะครับ ซึ่งเครื่องยนต์แบบนี้ จะไม่ใช่การทำงานแบบลูกสูบชักขึ้นลง แต่จะมี Rotors รูป 3 เหลี่ยม “หมุน” เป็นจังหวะ ดูด อัด ระเบิด คาย เหมือนกันกับเครื่องยนต์ลูกสูบชักธรรมดา ซึ่งการทำงานของ 2 Rotors นั้น จะเป็นเหมือนการสลับตำแหน่งของ Rotor เพื่อให้การหมุนเป็นไปอย่างสมดุล

เครื่องยนต์ 4 Rotors ทำมาเพื่อหักล้างข้อเสียของการส่งถ่ายพลังงานที่ยังขาดต่อเนื่อง ด้วยการให้ Rotor ที่เพิ่มเข้ามา หมุนไปในตำแหน่งที่ว่าง ซึ่งการจุดระเบิบจะเป็นแบบ 1 3 2 4 คล้ายๆ กับการทำงานของเครื่องยนต์ Crossplane ของ Yamaha ที่จะไม่ปล่อยให้มีจังหวะว่างของการหมุน เช่น Rotor แรก ถึงจุดของการคายไอเสีย Rotor ที่ 3 จะถึงจังหวะระเบิด ส่วน Rotor ที่ 2 ก็กำลังจะเข้าสูการคายไอเสีย และ Rotor ที่ 4 ทำการจุดระเบิด ทำให้ช่องว่างของเครื่องยนต์ลดลงไปไม่น้อยๆ หากเพื่อนๆยังไม่เข้าใจ ลองชมรูปภาพประกอบด้านล่างได้เลยครับ

เป็นอย่างไรบ้างครับ กับเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับเครื่องยนต์ Rotary แบบ 4 โรเตอร์ ที่สุดแห่งการโมดิฟาย หวังว่าเพื่อนที่เป็นแฟนพันธุ์แท้ของเครื่องยนต์ Rotor คงได้เข้าใจหลักการทำงานของคเรื่องยนต์แบบ 4 Rotor กันมากขึ้นนะครับ

เครดิต www.boxzaracing.com