คุณคิดว่า”เราสามารถแชทหรือคุยโทรศัพท์ขณะขับรถได้” จริงเหรอ?

คนส่วนใหญ่คิดว่าพวกเขาสามารถทำงานสองอย่างพร้อมกันได้ แต่จากการวิจัยทางจิตวิทยา ได้พิสูจน์แล้วว่าสมองไม่ได้สร้างประสาทเชื่อมโยงเพื่อการทำงานหลายๆ อย่างพร้อมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะขับรถ เมื่อสมองได้รับการโหลดข้อมูลให้ทำงานหลายๆ อย่างพร้อมกันมากเกินไป จะส่งผลให้การทำงานแต่ละอย่างช้าลงไปด้วย ตัวอย่างเช่น หลายคนอาจคิดว่าพวกเขาสามารถคุยโทรศัพท์ ขณะขับรถบนท้องถนนได้อย่างปลอดภัย แต่การศึกษาทางวิทยาศาสตร์กลับไม่คิดเช่นนั้น

ตัวเลขเกี่ยวกับสิ่งรบกวนขณะขับรถ

  • 390: ระยะทางเป็นเมตรของรถที่ในเวลา 14 วินาที ด้วยความเร็ว 100 กม./ชม.
  • 94: – จำนวนเปอร์เซ็นต์ของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากความผิดพลาดของผู้ขับขี่
  • 37: จำนวนเปอร์เซ็นต์ของความสามารถในการขับขี่ที่ลดลงเมื่อคุยโทรศัพท์
  • 14: วินาทีโดยเฉลี่ยที่ผู้คนใช้ในการเซลฟี่
  • 1: จำนวนชิ้นงานที่สมองของมนุษย์สามารถจดจ่อได้อย่างเต็มที่

ที่มา: กรมการขนส่งสหรัฐอเมริกา

ผู้เชี่ยวชาญได้ระบุปัจจัยหลัก 4 ประการ ที่ทำให้ผู้ขับขี่เสียสมาธิ ส่งผลให้สมองถูกเบี่ยงเบนความสนใจออกจากท้องถนน และมักนำไปสู่อุบัติเหตุร้ายแรง ดังนี้เมื่อผู้ขับขี่ไม่มีสมาธิจดจ่อ หรือมีเรื่องมากมายให้ต้องคิด กลับก่อให้เกิดผลเสียอย่างร้ายแรงได้ จากสถิติองค์การอนามัยโลก ในทุกปี มีผู้คนมากกว่า 1.25 ล้านคนต้องเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน และยังพบว่า 94 เปอร์เซ็นต์ของอุบัติเหตุนั้นเกิดจากความผิดพลาดของผู้ขับขี่

  1. การมองเห็น – สิ่งต่างๆ ที่ทำให้ผู้ขับขี่ต้องละสายตาจากท้องถนน เช่น ดูโทรศัพท์ หรือแต่งหน้า
  2. การได้ยิน – เสียงต่างๆ ที่ดังเกินไป อาทิ การคุยโทรศัพท์หรือการฟังเพลง สิ่งเหล่านี้อาจทำให้ผู้ขับขี่ไม่ได้ยินเสียงการจราจรอื่นๆ เช่น สัญญาณรถฉุกเฉิน
  3. การลงมือทำสิ่งอื่น – สิ่งต่างๆ ที่ทำให้ผู้ขับขี่ต้องละมือใดมือหนึ่งออกจากพวงมาลัย เช่น การรับประทานอาหาร หรือดื่มเครื่องดื่ม
  4. สติในการรับรู้ – สมาธิที่ลดลงอันเนื่องจากปัจจัยต่างๆ เช่น ความเหนื่อยล้า การทานยารักษาโรค หรือสิ่งไขว้เขวอื่นๆ ในชีวิตประจำวัน

การขับขี่คือการใช้พลังงานสมองอย่างมาก

ภารกิจที่แตกต่างกันมีผลกระทบต่อการสร้างความสามารถในการรับรู้ที่ต่าง กัน รวมทั้งการใช้พลังงานสมองที่ต่างกันด้วย การนอนเล่นบนชายหาดนั้นใช้สมาธิในระดับที่ต่ำมาก แต่ในทางตรงกันข้าม การขับขี่เป็นกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิสูงมากเนื่องจากสภาพการณ์ต่างๆ รอบตัวเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาในชั่วระยะเวลาอันสั้น

แมตต์ เกอร์แลช เป็นผู้ที่มีความรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างดี แมตต์ คือหนึ่งในผู้สอนขับรถขั้นสูงที่สุดของฟอร์ดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เขาใช้เวลานานกว่า 10 ปีในการฝึกอบรมวิศวกรเพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการขับขี่ ณ ศูนย์ทดสอบของฟอร์ดในประเทศออสเตรเลีย

“ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ผมได้อบรมผู้ขับขี่มากมายหลายร้อยคน และจากประสบการณ์ของผม การขับขี่บนถนนปกติต้องใช้พลังงานสมองมากถึง 85 เปอร์เซ็นต์ ส่วนการส่งข้อความ การถ่ายรูป หรือแม้กระทั่งการพูดคุยกับผู้โดยสาร ซึ่งดูเหมือนว่าจะทำได้ง่ายๆ แต่ผู้ขับขี่ต้องใช้พลังงานสมองเป็นอย่างมาก และหากสมองถูกใช้งานเกินความสามารถ ก็จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้”

การสำรวจของฟอร์ด เมื่อเร็วๆ นี้ พบว่า 22 เปอร์เซ็นต์ของผู้หญิงยุคใหม่ในเอเชียแปซิฟิกมักถ่ายรูป หรือเซลฟี่ในขณะขับรถ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง เพราะการขับรถที่ความเร็ว 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สามารถทำให้รถเคลื่อนที่ไปได้ไกลถึง 390 เมตรภายในเวลา 14 วินาที ซึ่งเป็นเวลาโดยเฉลี่ยที่ใช้สำหรับเซลฟี่นั่นเอง การสำรวจยังระบุว่า 54 เปอร์เซ็นต์ของผู้ขับขี่พยายามจะไม่ใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ แต่สุดท้ายแล้วก็ไม่สามารถที่จะหยุดไม่ใช้โทรศัพท์ได้ และอีก 59 เปอร์เซ็นต์ของผู้ขับขี่ยังใช้โทรศัพท์ขณะรถติด หรือเมื่อติดสัญญาณไฟ แม้ทราบดีว่า สิ่งนี้เป็นสิ่งผิดกฎหมาย

ในฐานะผู้ขับรถทดสอบที่มีทักษะชั้นสูง ส่วนหนึ่งในงานของเกอร์แลช คือ การดึงสมรรถนะของรถออกมาใช้งานได้จนถึงขีดจำกัด ซึ่งเกินกว่าที่ผู้ขับขี่โดยทั่วไปเคยได้สัมผัส ในการทำเช่นนี้ เกอร์แลชยังต้องทดสอบผู้ขับขี่ที่เข้ารับการฝึกหัด ให้ทดสอบการขับขี่ที่เกินขีดจำกัดด้านการรับรู้ของพวกเขาด้วย

“ในขณะขับขี่ เมื่อสมองของคุณต้องใช้พลังงานการรับรู้ 85 เปอร์เซ็นต์ สมองของคุณจะไม่มีความสามารถในการทำสิ่งอื่นได้แล้ว ไม่ว่าคุณจะเป็นคนนักขับมืออาชีพ หรือเพิ่งหัดขับรถก็ตาม และหากคุณเริ่มเข้าใจว่าสมองของคุณต้องถูกใช้งานมากน้อยอย่างไรเพียงเพื่อ การขับรถคุณก็จะสามารถจำกัดขีดการรับรู้ของตนเองและเป็นผู้ขับขี่ที่ปลอดภัย ” เกอร์แลชกล่าว

ฉันในฐานะผู้ขับขี่ทำอะไรได้บ้าง

มีหลายวิธีที่ผู้ขับขี่สามารถลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุได้ดังนี้

  1. มุ่งสมาธิไปที่การขับขี่ และหลีกเลี่ยงจากสิ่งรบกวนที่เป็นอันตรายขณะนั่งหลังพวงมาลัย – ผู้เชี่ยวชาญและข้อมูลต่างๆ ได้ระบุอย่างชัดเจนว่า ภัยอันตรายที่คุกคามชีวิตทั้งของผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และผู้คนที่เดินถนนนั้นจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก เมื่อผู้ขับขี่ละสมาธิออกไปจากการขับขี่บนท้องถนนแม้เพียงเล็กน้อย
  2. ขยายมุมมองของคุณ – “โดยปกติ คนทั่วไปมักไม่มองไปข้างหน้าในระยะไกลเท่าไรนักขณะขับรถ” เกอร์แลช กล่าว “พวกเขามักจะมองไปแค่ที่รถคันข้างหน้าแทนที่จะมองและตรวจสอบรอบๆ เพื่อดูว่า มีอะไรเกิดขึ้นข้างหน้าบ้างหรือไม่ แม้คุณจะผ่านการฝึกฝนในเรื่องนี้เพียงเล็กน้อยที่เกี่ยวข้องแต่คุณสามารถใช้ วิสัยทัศน์ของคุณในการตรวจสอบเส้นทางในมุมกว้างทั้งที่อยู่ด้านหน้าและด้าน ข้างๆ พร้อมๆ กับการมองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างที่กำลังเกิดขึ้นรอบๆตัวได้”
  3. หลีกเลี่ยงการขับขี่ขณะง่วงนอน – ไม่มีอะไรปิดบังความสามารถภายในที่ลดลงเมื่อมีความเหนื่อยล้าหรืออยู่ในภาวะ ที่ยาออกฤทธิ์ การรับรู้และการตื่นตัวอย่างเต็มที่เมื่ออยู่หลังพวงมาลัยนั้นจะช่วยส่ง เสริมการตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. เครดิต www.carvariety.com