จอดรถหน้าบ้านคนอื่นผิดกฏหมายจริงเหรอ?

หนึ่งในปัญหาของการจอดรถขวางทางหน้าบ้าน จนส่งผลกระทบที่ไม่มีใครคาดคิดปัญหาการจอดรถหน้าบ้านคนอื่นโดยพลการ เป็นปัญหาที่สร้างผลกระทบต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และมักจะจบลงด้วยข้อพิพาท ไปจนถึงความเสียหาย ซึ่งสาเหตุนั้น อาจจะมีหลากหลายรูปแบบทั้งจากผู้ขับขี่, สถานที่รองรับการจอดรถ, ระยะทาง, เวลา รวมไปถึงบรรดาข้ออ้างว่า พื้นที่ถนนหรือในชุมชนเป็นพื้นที่สาธารณะ หรือแม้แต่ขอจอดแค่แปปเดียว โดยไม่ได้คำนึงถึงผู้ใช้รถใช้ถนนร่วมกัน ทั้งหมดจึงกลายเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาของผู้ใช้รถและผู้ที่อยู่ในพื้นที่

รู้หรือไม่ว่า มีกฎหมายแก้ปัญหาการเอารถจอดขวางหน้าบ้าน หรือจอดในพื้นที่ที่กีดขวางจราจร จนส่งผลกระทบและความเดือดร้อนของผู้คนในพื้นที่ ด้วยกฎหมายอาญา มาตรา 397 กล่าวไว้ว่า “ผู้ใดกระทำด้วยประการใดๆ ต่อผู้อื่น อันเป็นการรังแก ข่มเหง คุกคาม หรือกระทำให้ได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท”

เทียบเคียงฎีกา 1908/2518 “จำเลยจอดรถขวางกั้นไม่ให้โจทก์ถอยรถออกไปจากซอยที่เกิดเหตุ เป็นเพียงขัดขวางไม่ให้โจทก์นำรถออกไปได้เท่านั้น ส่วนตัวโจทก์มีอิสระที่จะออกไปจากซอยได้ การกระทำของจำเลย ยังไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310* แต่เป็นการรังแกข่มเหงทำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนรำคาญ แม้ซอยนั้นจะอยู่ในที่ดินของผู้มีชื่อซึ่งแบ่งให้ผู้อื่นเช่าปลูกบ้าน แต่ประชาชนก็ชอบที่จะเข้าออกไปติดต่อกับผู้ที่อยู่ในซอยนั้นได้ ถือได้ว่าจำเลยได้กระทำในที่สาธารณสถาน จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 397”

หมายเหตุ : ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 ผู้ใดหน่วงเหนี่ยว หรือกักขังผู้อื่น หรือกระทำด้วยประการใดให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

เครดิต www.boxzaracing.com