ใช้ยังไงให้ถูกวิธี สำหรับ แตรรถยนต์

หลายท่านที่ใช้รถส่วนใหญ่น่าจะเคยมีประสบการณฺ์แย่ๆ บนท้องถนน ไม่ว่าจะเป็น ถูกขับรถตัดหน้า, มีรถจอดขวางทาง หรืออะไรก็ตามแต่ที่ก่อให่้เกิดความไม่เอื้ออำนวยบนถนนหรืออาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุต่อรถของท่าน ทุกครั้งที่เรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นเรามักจะ บีบแตร เพื่อเป็นการเตือนอีกฝ่ายให้รับรู้หรือเพื่อเตือนอีกฝ่ายให้เกิดความระมัดระะวังให้มากขึ้น

กลับกันในปัจจุบันการ บีบแตร แบบผิดวัตถุประสงค์ก็มีให้เห็นกันบ่อยๆ เช่น บีบแตร เพื่อเป็นการเเสดงออกเชิงไม่พอใจผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่นๆ จนทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดคิดว่า แตรคืออุปกรณ์ติดรถที่จะใช้เพื่อระบายอารมณ์ บีบแต่เเล้วเสียมารยาท หรือเข้าใจผิดหนักยิ่งกว่าคือไม่กล้า บีบแตร เพราะกลัวผู้ใช้รถอีกฝ่ายไม่พอใจ จนกลายเป็นว่า แตร คืออุปกรณ์ต้องห้ามที่มีติดรถแบบไร้ประโยชน์

เราลองมาปรับความเข้าใจกันใหม่เกี่ยวกับการ บีบแตร เริ่มกันที่ข้อห้ามกันก่อน ในกฏหมายจราจร พรบ. พ.ศ.2522 ได้มีกา่รระบุชัดเจนว่ามาตรา 14 การใช้เสียงสัญญาณ ผู้ขับขี่จะใช้ได้เฉพาะเมื่อจำเป็นหรือป้องกันอุบัติเหตุเท่านั้น แต่จะใช้เสียงยาวหรือซ้ำเกินควรไม่ได้ มีบางสถานที่ๆ ไม่ควรใช้สัญญาณเเตร เช่น สถานที่ราชการ โรงเรียน โรงพยาบาล หรือเขตพระราชฐาน ถ้าเป็นรถแท็กซี่ จะมีกำหนดใน มาตรา 99(5) ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ว่า ห้ามใช้เสียงสัญญาณแตรเพื่อเร่งรถอื่น

เเละ บีบแตร ที่ถูกต้องตามหลักสากล ไม่สร้างความลำคาญเดือดร้อนให้ผู้อื่นมีหลักการใช้ดังนี้

  • เสียงสั้น หมายถึง กาารเรียก การทักทาย
  • เสียงสั้นสองครั้ง หมายถึง การเตือน ให้อีกฝ่ายทราบถึงตำแหน่งของคุณ
  • เสียงดังยาว หมายถึง เร่งอีกฝ่ายให้ตื่นตัว, ระวัง
  • เสียงดังยาวซ้ำกันสองครั้ง หมายถึง การเตือนชนิดที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุแบบกะทันหัน
  • เสียงดังยาวลากยาว หมายถึง การแสดงอาการไม่พอใจ การบีบบเเตรใในลักษณะนี้อาจก่อให้เกิดปัญหาได้
  • ฉะนั้นการ บีบแตร ให้อีกฝ่ายรับรู้จึงไม่ใช่การเสียมารยาทบนท้องถนน แป้นกด แตร บนพวงมาลัยในรถทุกคันสามารถกดได้ แตรมีไว้ลดอุบัติเหตุได้ แต่ถ้าบีบแตร แบบผิดวิธีหรือไม่ถูกต้อง แตร ก็จะนำปัญหากลับมาให้คณได้เช่นกัน

    เครดิต www.mthai.com