3 วิธียืดอายุ ยางรถยนต์

เคยสงสัยบ้างไหมว่าต้องเปลี่ยน ยางรถยนต์ เมื่อไร บางสำนักก็บอก 2 ปี บ้างก็ว่า 5 ปี หรือตอนยางกรอบ เลี้ยวแล้วมีเสียงเอี๊ยดๆ มีหลายเหตุผลมากมายที่ทำให้เรารู้สึกว่าได้เวลาเปลี่ยนยางซะที แต่ก่อนจะเปลี่ยนยาง เรารู้วิธีดูแลรักษายางให้อยู่กัเราไปนานๆ ก่อนดีกว่า

1. รู้จักตัวเลขที่แก้มยาง

ขั้นตอนแรกที่เราจะมาเริ่มดูแลยางรถยนต์ของเราก็คือ แล้วมองหาตัวเลขหนึ่งชุดที่บอกอะไรเราได้หลายอย่าง ซึ่ง 2 ส่วนที่ควรสนใจก็คือ ดัชนีการรับน้ำหนัก (Load Index) และสัญลักษณ์แสดงขีดจำกัดความเร็ว (Speed Index)

ดัชนีการรับน้ำหนัก (Load Index) เป็นตัวเลขที่แสดงถึงค่าน้ำหนัก(กิโลกรัม) ที่ยางรับได้มากที่สุดเมื่อเติมลมยางอย่างเหมาะสม ใครที่เพื่อนเยอะ หรือต้องขนของหนักเวลาซื้อยางต้องตรวจสอบค่าเหล่านี้ให้ดี เพราะถ้าน้อยเกินน้ำหนักที่บรรทุกประจำก็จะทำให้ยางเสื่อมเร็วว่าปกติ

อีกส่วนที่สำคัญคือ สัญลักษณ์แสดงขีดจำกัดความเร็ว (Speed Index) เพื่อระบุว่ายางที่ใส่อยู่นั้นสามารถรองรังกับความเร็วที่ระดับไหน

2. วิธีดูแลรักษายาง

หลังจากรู้ขีดจำกัดต่างๆ ของยางแล้ว ก็ได้เวลาที่จะมาดูแลยางให้อยู่กับเราไปอีกนานๆ ตามวิธีต่อไปนี้

  1. หมั่นตรวจสอบความดันลมยางให้ อย่างน้อยเดือนละครั้ง หรือทุกครั้งที่ต้องเดินทางไกล
  2. ใช้ความดันลมยางตามที่กำหนดอย่างเคร่งครัด
  3. ห้ามบรรทุกเกินดัชนีน้ำหนักบรรทุกสูงสุดที่กำหนด
  4. ขับขี่ด้วยความเร็วที่เหมาะสม
  5. หลีกเลี่ยงการขับขี่บนถนนขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อ
  6. หลีกเลี่ยงการหมุนล้อฟรีอย่างรุนแรง

3. สังเกตุอาการที่ยางรถยนต์อย่างสม่ำเสมอ

1.ยางแตกลายงา เกิดจากการเสื่อมสภาพตามอายุของยาง หรือเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ก็ได้ เช่น ความร้อนจากการจอดรถตากแดดเป็นระยะเวลานานๆ และสม่ำเสมอ บรรทุกน้ำหนักเกินกำหนด หรือความดันลมยางน้อยกว่าปกติ จะทำให้ขอบยางรับน้ำหนักมากเกินจนถูกบดทับทำให้เกิดรอยแตกได้

2.แก้มยางฉีกขาด กรณีนี้ถือว่าร้ายแรงมาก เพราะเป็นส่วนที่ไม่สามารถซ่อมแซมได้และอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุอื่นๆ ตามมา โดยมากสาเหตุหลักมักเกิดจากการถูกของมีคมเข้าที่แก้มยาง ซึ่งอาจเกิดจากการขับรถไปเบียดกับเหล็กหรือขอบถนนก็ได้

3.หน้ายางสึกเร็วมากกว่าไหล่ยาง โดยปกติแล้วหน้ายางจะสึกเสมอกันตลอด แต่ในกรณีที่ตรวจพบว่าหน้ายางสึกมากกว่าไหล่ยางอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ความดันลมยางน้อยเกินไป การประกอบยางกับกระท้อไม่ดีตั้งแต่ต้น ไม่สลับยางตามระยะที่กำหนด

4.แก้มยางบวม มักพบได้หลังจากที่ยางไปเบียดกับฟุตปาดหรือตกกระแทกหลุมอย่างรุนแรง จนทำให้ขอบยางเสียหายบวมปูดจนเห็นได้ชัด ซึ่งหากขับต่อไป จะมีความเสี่ยงต่อการระเบิดของยางได้

5. ดอกยางหมดหรือหมดสภาพ ควรคำนวณจากระยะทางและการใช้งานเป้นหลักหากใช้รถบ่อยๆ หรือวิ่งทางไกลมากๆ แล้วพบว่ายางสึกถือว่าปกติ แต่หากพบว่ายางสึกเร็วกว่าระยะทางที่ควรจะเป็นอาจเกิดจาก ระบบช่วงล่างของรถ เช่น ค่ามุมล้อที่ผิดไป

6. ไหล่ยางสึกไม่เท่ากัน หรือสึกข้างใดข้างหนึ่ง เกิดได้หลายกรณี เช่น ตั้งศูนย์ถ่วงล้อไม่สมดุล ใส่ยางไม่เท่ากันทุกล้อ ความดันลมยางน้อย หรือบรรทุกน้ำหนักเกินไป หนักสุดๆ อาจเกิดจากเพลาคดก็ได้

7. ดอกยางสึกจนถึงจุดเตือน (สังเกตรูปสามเหลี่ยมที่แก้มยาง จะชี้จุดเดือนที่อยู่ในร่องดอกยาง)

เครดิต www.mthai.com