น้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ มีจุดประสงค์ตามชื่อ ใช้สำหรับหล่อลื่น

 

แน่นอนว่าน้ำมันเครื่อง หรือหากให้พูดอย่างเป็นทางการก็คือ น้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ มีจุดประสงค์ตามชื่อ ใช้สำหรับหล่อลื่น ทว่าปัจจุบันนี้เทคโนโลยีของเครื่องยนต์ได้รับการพัฒนาสูงขึ้นโดยมีปัจจัยหลัก 4 ประการในการพัฒนาเครื่องยนต์ คือ การลดขนาดเครื่องยนต์ (Engine Downsizing), การฉีดน้ำมันเบนซินโดยตรง GDI (Gasoline Direct Injection) , ระบบเพิ่มการอัดอากาศ (Turbocharger)  รวมถึง กรองอนุภาคน้ำมันเบนซิน GPF (Gasoline Particulate Filters)  และเพื่อต้องการตอบสนองการใช้งานของเครื่องยนต์สมัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ น้ำมันหล่อลื่นจึงต้องพัฒนาให้สามารถปกป้องเครื่องยนต์ได้  นั่นเป็นเหตุผลที่ทำไม่ต้องพัฒนาไปสู่มาตรฐาน API SP และ ILSAC GF-6

การลดขนาดเครื่องยนต์ (Engine Downsizing) หนึ่งในปัจจัยหลัก

 

มาตรฐาน API SP

สำหรับเครื่องยนต์สันดาปภายใน น้ำมันเครื่องที่ตรงตามข้อกำหนดภายใต้มาตรฐานใหม่ API SP จะมีข้อดีในด้านประสิทธิภาพหลากหลายประการ เมื่อเทียบกับหมวดหมู่ API SN Plus และ API SN ในปัจจุบัน สามารถประยุกต์ใช้น้ำมันเครื่องทุกเบอร์ความหนืด พูดง่ายๆ  มาตรฐาน ILSAC GF-6  นั้นใช้กับเบอร์ความหนืดที่ต้องการความประหยัดเชื้อเพลิง  ในขณะที่ API SP ใช้กับเกรดความหนืดที่หนักกว่า เช่น 10W-40 และ 20W-50  และน้ำมันเครื่องมาตรฐาน API SP สามารถเข้ากันได้อย่างสมบูรณ์ กับน้ำมันเครื่องมาตรฐาน API ก่อนหน้านี้ทั้งหมด  ประกอบด้วย API SN PLUS, SN, SM, SL หรือ SJ ซึ่ง API SP จะแสดงด้วยเครื่องหมาย โดนัท แบบดั้งเดิม

API SP จะแสดงด้วยเครื่องหมาย โดนัท แบบดั้งเดิม

 

มาตรฐาน ILSAC GF-6

และล่าสุดกับ มาตรฐาน ILSAC GF-6 เป็นมาตรฐานน้ำมันที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับ น้ำมันเครื่องเกรดประสิทธิภาพ สำหรับการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงโดยเฉพาะ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามเบอร์ความหนืด ได้แก่ ILSAC GF-6A เป็นมาตรฐานที่สามารถแทนที่ข้อกำหนด ILSAC GF-5 ก่อนหน้า ซึ่งครอบคลุมน้ำมัน เบอร์ความหนืด SAE 0W-20, 5W-20, 5W-30 และ 10W-30 และอีกหนึ่งประเภท คือ ILSAC GF-6B รองรับน้ำมันเบอร์ความหนืดต่ำที่สุด 0W-16 โดยเฉพาะ มาตรฐาน ILSAC GF-6A จะแสดงด้วยเครื่องหมาย Starburst แบบดั้งเดิม ในขณะที่มาตรฐาน ILSAC GF-6B จะแสดงด้วยเครื่องหมาย shield ใหม่ เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคเห็นความแตกต่างทั้งสองได้อย่างชัดเจน

มาตรฐาน ILSAC GF-6B จะแสดงด้วยเครื่องหมาย shield ใหม่

 

ส่วนในเรื่องของการวิจัยและพัฒนานั้นเพื่อให้ได้มาตรฐาน  มีหลายปัจจัย ทั้ง ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ที่ต้องการลดการปลดปล่อยมลพิษโดยเฉพาะก๊าซเรือนกระจก (Green House Gas ) และการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ตลอดจนการประหยัดเชื้อเพลิง และเพื่อตอบสนองความต้องการของเครื่องยนต์เทคโนโลยีสมัยใหม่  ทั้งเครื่องยนต์เบนซินแบบฉีดตรง (TGDI) เครื่องยนต์ที่มีระบบ Start-Stop engine ในขณะเดียวกันสิ่งเหล่านี้ก็นับว่าเป็นประโยชน์ของมาตรฐานน้ำมันเครื่อง API SP  และ ILSAC GF-6 เช่นกัน

 

 

เครดิต www.boxzaracing.com