สวัสดีเพื่อนๆ สำหรับวันนี้ทางทีมงานจะพาเพื่อนๆ มารู้จักกับเกร็ดความรู้เกี่ยวกับรถยนต์ ที่สามารถทำให้รถของเพื่อนๆ ดูโดดเด่นขึ้นมาได้อย่างดีเยี่ยมเลย นั่นก็คือ สี นั่นเอง ปัจจุบันจะเห็นว่ามีรถซิ่งที่ทำสีแสบๆ เจ็บๆ วิ่งให้เห็นกันทั่วไปหมด เชื่อว่าเพื่อนๆ ก็คงมีความคิดที่อยากจะขัดสีฉวีวรรณให้กับเจ้ารถสุดที่รักของเพื่อนๆ ด้วยเหมือนกัน แน่นอนว่าการเลือกชนิดของสีนั้น ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะว่าหากเลือกชนิดสีที่เหมาะสมแล้ว จะทำให้สีที่อยู่บนรถสุดที่รักของเพื่อนๆ ติดทน มันวาว แบบสุดๆ ช่วยเสริมสร้างออร่าให้รถดูหล่อขึ้นอีกหลายระดับเลยล่ะครับ และที่สำคัญ จะได้ไม่โดนอู่ทำสีที่ไม่หวังดีหลอกเอานะคับ ฉะนั้นวันนี้เรามาทำความรู้จักชนิดของสีกันดีกว่า

สี 1K

สี 1K คือ สี 1 Komponent หมายความว่าสีที่มีแต่ตัวสีอย่างเดียว เวลาใช้จำเป็นต้องนำมาผสมกับตัวทำละลายอีกครั้ง เพื่อนๆ คงจะไม่คุ้นหูกันสักเท่าไหร่ แต่ถ้าเปลี่ยนมาเป็น สีแบบ แห้งช้า หรือแห้งเร็ว เพื่อนๆ คงจะถึงบางอ้อกันเลย ซึ่งมีเพื่อนๆ หลายคน ยังมีความสับสนและเข้าใจผิดอยู่ว่า สีแห้งเร็ว คือสี 1K สีแห้งช้าคือ สี 2K นั่นต้องบอกว่าเป็นความคิดที่ผิดนะครับ แต่ก็ไม่ผิดซะทีเดียว เพราะอย่างที่บอกครับ ว่าสี 1K มีทั้งแบบแห้งเร็วและแห้งช้า ซึ่งก็แตกต่างกันออกไปตาม ชนิดของสี เช่น

  •  1K Synthetic Enzymes หรือ สีน้ำมัน สีแบบนี้จะเป็นสีที่ แห้งช้า โดยที่เนื้อสีจะแห้งเอง โดยการทำปฏิกริยา Oxidation กับออกซิเจนในอากาศครับ
  •  1K Nitrocellulose หรือ ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อ สีแห้งเร็ว โดยสีแบบนี้ จะแห้งเมื่อสารทำละลายที่ใช้ผสมมีการ ระเหย ออกไปจนเหลือแต่ชั้นฟีล์มของสีนั่นเองครับ

สี OEM

สี OEM ก็คือ สีแบบองค์ประกอบเดิมๆ จากโรงงานนั่นเอง โดยที่สีชนิดนี้ ก็คือ สี 1K ที่มีองค์ประกอบเพียงอย่างเดียวนั่นแหละครับ แต่ว่า…จะใช้ผสมกับตัวทำละลายแบบเฉพาะของแต่ละค่ายรถ และจะมีการทำให้แห้งโดยใช้ความร้อนสูงระดับ 120 องศาเซลเซียส เพื่อทำให้สีแห้ง ซึ่งจะเห็นได้ทั่วไปตาม ศูนย์บริการซ่อมสีที่ได้มาตรฐาน ที่จะมีห้องอบสีเฉพาะนั่นเองครับ ซึ่งสีแบบนี้ มักจะรู้จักกันใน ชื่อว่า สีอบ นั่นเอง ถ้าหากสีแห้งได้ที่แล้วเนื้อสีที่ออกมานั้น จะมีคุณภาพสูงมาก วัดจากชั้นฟีล์มของเนื้อสี ความฉ่ำเงา รวมไปถึงยังสามารถทนทานต่อสารเคมีกัดกร่อนชนิดต่างๆ เช่น น้ำมันเบรค และรวมไปถึงทนทานต่อแสงแดดได้ดีอีกด้วยครับ

สี 2K

สี 2K คือ สีที่มี 2 Komponent นั่นเอง จะต่างจากสีแบบ 1K ตรงที่ สีแบบนี้จะมีองค์ประกอบที่ 2 นั่นคือ สารเร่งปฏิกริยา ไม่ว่าจะเป็น Hard หรือ Activator นั่นเอง ซึ่งจำเป็นต้องผสมทั้ง 2 องค์ประกอบอย่างสมส่วนและลงตัว จึงจะทำให้สีที่ออกมาทำปฏิกริยา แล้วเกิดการแห้งจากปฏิกริยาเคมีนั่นเองครับ โดยหลักๆ แล้ว สีแบบ 2K นั่นจะมีอยู่ 2 แบบ คือ 2K Epoxy และ 2K Polyurethane  ส่วนสารทำละลายหรือตัวเร่งปฏิกริยานั้น จะนิยมใช้เป็นสารในจำพวก Isocyanate ถ้าหากสีแบบ 2K แห้งแล้ว จะให้คุณภาพของสีที่เทียบเคียงได้กับสีเดิมจากโรงงานมากที่สุด ทั้งเรื่องคุณภาพความเงา ความทนทาน รวมไปถึงชั้นฟีล์มที่ได้ สามรถเทียบได้กับ OEM เลยทีเดียวครับ โดยทั่วไปแล้ว เจ้าสี 2K มักจะรู้จักกันในนามของ สีแห้งช้า ซึ่งก็ไม่ถูกซะทีเดียว เนื่องจากสี 2K นั้น ก็มีการผลิตสีแบบแห้งเร็วอีกด้วย ฉะนั้นการที่เรียกว่า สีแห้งช้า คือ 2K แห้งเร็ว คือ1K ต้องทำความเข้าใจใหม่นะครับ เพราะแต่ละตัวนั้น มีการออกแบบทั้งแบบแห้งช้าและแห้งเร็วได้เหมือนกัน

Lamborghini Aventador LP700-4 สุดหล่อ

          หากจะกล่างถึงข้อดีเทียบกันระหว่าง 1K กับ 2K คงจะตอบได้ไม่ยากว่า 2K มีประสิทธิภาพที่เหนือกว่า เหตุผลหลักอย่างหนึ่งเกี่ยวกับระยะเวลาการแห้งของสีก็มีผล เพราะว่าสีที่แห้งช้า ทำให้ชั้น Resin ในเนื้อสีสามารถทำ ปฏิกริยากับ Hardner ได้อย่างเต็มที่ ผลที่ได้คือ ชั้นฟิล์มที่หนากว่าแบบ 1K มีผลต่ออายุการใช้งานที่ยาวนานมาก ทนต่อสภาพดินฟ้าอากศที่เปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยๆ รวมไปถึงทนการกัดกร่อนจากสารเคมี เช่น น้ำมันเบรคได้ดี และที่สำคัญความเงางามที่สี 1K นั้น เทียบไม่ได้เลยครับ แต่จะว่าไปสี 1K นั้นก็มีข้อได้เปรียบตรงที่ราคานั้นจะถูกกว่าเกือบครึ่งเลยทีเดียว รวมไปถึงระยะเวลายังใช้น้อยกว่า 2K อีกด้วย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเพื่อนๆแล้วล่ะครับว่าสะดวกแบบไหน

 

เครดิต www.boxzaracing.com