ก่อนนี้ กรมทางหลวงได้ศึกษาแล้วพบว่า ถนนเส้นที่ถูกทางสีแดงทับนั้น มักเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง แม้จะแก้ไขด้วยการทำป้ายเตือนแสดงให้ผู้ใช้รถใช้ถนนได้เห็น เช่น ป้ายลดความเร็ว ป้ายระวังถนนลื่น แต่ก็ไม่ได้ช่วยลดอุบัติเหตุแต่อย่างใด ที่สุดกรมทางหลวงจึงใช้วิธีทาสีลงบนพื้นถนน เพื่อให้ผู้ขับขี่รถเห็นชัดขึ้น

ความพิเศษของสี

สีที่ใช้ทามีลักษณะพิเศษเป็นสีโคลด์พลาสติกแอนตี้สคิด ผสมกับลูกแก้ว เมื่อผู้ขับขี่รถผ่านมาในเวลากลางคืน แสงไฟจากรถจะส่องกระทบพื้นและจะมีแสงระยิบระยับสะท้อนให้เห็นชัดเจน ขณะเดียวกันยังมีแรงเสียดทาน ทำให้ยางรถยึดเกาะถนนได้ดียิ่งขึ้นด้วย

สิ่งที่กรมทางหลวงทำ ในการลดการลื่นไหล คือ การใช้ Anti Skid Paint ทาสีเพื่อป้องกันไม่ให้รถลื่นไถล จะสามารถช่วยลดการลื่นไถลระหว่างหน้ายางกับพื้นถนน เช่น ขณะที่เราเบรค ขณะที่พื้นถนนเปียก หรือในขณะที่เลี้ยวบนทางโค้ง และมันยังทำให้ ยางรถยนต์ สามารถเกาะถนนได้เป็นอย่างดีอีกด้วย โดยจะมีหลายรูปแบบ เช่น สีเขียว สีส้ม สีน้ำเงิน สีแดง ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ ข้อดีแต่ละสีแตกต่างกัน สีส้มเหมาะกับเตือนให้ความสว่างในช่วงกลางคืน สีแดงจะให้ความรู้สึกระมัดระวังเป็นพิเศษ เป็นต้น

ส่วนสารกันลื่นไถลบนพื้นถนน ทำมาจากหินแร่อลูมิเนียม หรือ Bauxite ที่ให้ความร้อนสูง และทำการป่นจนเป็นผงละเอียด ซึ่งคุณสมบัติของ Bauxite คือ ให้ความแข็งแกร่ง ทนทาน คงสภาพได้นาน และทนต่อการสึกหรอจากการกดทับของหน้ายางรถยนต์อยู่ตลอดเวลา ส่วนใหญ่จะเห็นพื้นถนนสีแดงนี้ก่อนถึงทางร่วม ทางแยก ทางโค้ง

คราวนี้ คงทราบกันแล้วว่า ถนนพื้นสีแดง ทาทำไม ช่วยอะไรได้ แต่ปัจจัยที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุมีมากมายทั้งสภาพความพร้อมของตัวรถ ผู้ขับขี่ และอื่นๆ หากเราขับรถ นอกจากการสังเกตเรื่องป้ายเตือน สีบนพื้นถนนแล้ว การปฏิบัติตามกฎจราจรก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เราสามารถขับขี่ได้ปลอดภัย

 

 

ที่มา กรมทางหลวง

เครดิต www.autospinn.com