วัยรุ่น วัยแรงหลายคนน่าจะได้เห็น เบาะนั่ง (Carseat) ของรถในหลากหลายรูปแบบ หลายวัสดุที่นำมาทำ ไม่ว่าจะเป็น พลาสติก ไฟเบอร์ คาร์บอนไฟเบอร์ และเชื่อว่าทุกคนต้องคุ้นเคยกับวัสดุที่นำมาใช้ทำเบาะนั่งแบบนี้กันอยู่หมดแล้ว เพราะเบาะนั่งสำหรับรถแรงเกือบร้อยเปอร์เซ็นสร้างจากวัสดุเหล่านี้ ทว่ายังมีอีกหนึ่งวัสดุที่ถือว่าได้รับความนิยมแม้ว่าจะอยู่ในกลุ่มเฉพาะก็ตาม

 ที่นั่งอะลูมิเนียมยุคแรกๆ จะอยู่ในกลุ่ม Airrcraft เพราะจำกัดเรื่องน้ำหนัก

         และวัสดุที่ว่านี้คือ อะลูมิเนียม (Aluminium) ที่ถูกนำมาสร้างเป็นที่นั่งเช่นกัน อ้าว..แล้วทำไมคร่าวนี้เรียกว่า ที่นั่ง ไม่เรียก เบาะ นั่นก็เพราะว่า การเอาอะลูมีเนียมมาใช้ทำที่นั่ง จะใช้แบบไม่มีการเสริมความนิ่มเพื่อความสบาย (แม้ปัจจุบันมีแล้ว) อีกทั้งเรื่องของลักษณะการใช้งาน (แบบดั่งเดิม) ก็ไม่ได้ตั้งใจทำมาเพื่อใช้งานในรถ ส่วนใหญ่เราจะให้อยู่ในเครื่องบินเก่า

หรือต่อให้ใช้ในรถก็ไม่น่าจะเรียกว่าเบาะได้เช่นกัน แต่เพื่อความสบายใจของผู้ใช้จะเรียกว่าเบาะก็ตามถนัดเราไม่ติด… เอาเป็นว่าเรื่องจะเรียกว่า ที่นั่ง หรือ เบาะ จบตรงนี้ ต่อไปก็มาทำความเข้าใจกันถึงวัสดุที่นำมาใช้กันดีกว่า ว่าทำไม่ต้องเป็นอะลูมิเนียม แล้ววัสดุชนิดนี้ดีหรือด้อยอย่างไร แล้วทำไมไม่ใช้วัสดุอื่นทำ

 ดูยังไงก็ไม่น่าเรียกว่าเบาะ เพราะหาความนุ่มสบายไม่ได้

          สำหรับอะลูมีเนียม เป็นโลหะชนิดหนึ่ง มีคุณสมบัติเด่นในเรื่องของความทนทานต่อการหัก การกัดกร่อน อีกทั้งยังสามารถสะท้อนความร้อนได้ และที่สำคัญมีน้ำหนักที่เบา ส่วนใหญ่แล้วถูกนำไปใช้งานตกแต่งมากกว่า ส่วนคุณสมบัติในทางวิศวกรรรม อะลูมิเนียมจะมีจุดหลอมละลายต่ำที่ 660 องศาเซลเซียส แถมยังเป็นโลหะที่มีความหนาแน่น้อยเพียง 1 ใน 3 ของเหล็กกล้า และทองแดง จึงทำให้มีน้ำหนักที่เบากว่า ทว่ารับน้ำหนักได้มาก ขึ้นรูป ดัด และตัดได้ง่ายโดยไม่เสี่ยงต่อการแตกร้าว

นอกจากนี้อะลูมิเนียมยังสามารถนำไปผสมกับโลหะอื่นๆ เพื่อเพิ่มคุณสมบัติให้ดีขึ้น ในของใช้บางชนิดที่มีอะลูมีเนียมผสมอยู่สามารถทนต่อความร้อนได้สูงถึง 1,200 องศาเซลเซียสทีเดียว ด้วยเหตุนี้จึงถูกนำไปใช้งานให้หลายรูปแบบ แถมตัวอะลูมิเนียมยังสามารถสร้างคุณสมบัติพิเศษขึ้นได้เอง เช่น เมื่ออะลูมิเนียมทำปฎิกิริยากับออกซิเจน จะทำให้เกิดชั้นฟิล์มบางๆ เรียกว่า อะลูมิเนียมออกไซด์

ซึ่งจะเคลือบชั้นผิวตัวเองซึ่งป้องกันการเกิดปฎิกิริยาอื่นๆ ได้ ไม่เพียงเท่านี้ยังมีคุณสมบัติหลายแบบตามมาอีกซึ่งเราคงไม่ต้องลงลึกเพราะจะงงกันไปใหญ่

 วิวัฒนาการมาเป็นที่นั่งสำหรับรถยนต์

          มาถึงส่วนตรงนี้น่าจะเป็นสาระสำคัญ ว่าทำไมวัสดุประเภทนี้ถึงได้นำเอามาทำที่นั่ง ด้วยว่าอะลูมิเนียมบริสุทธิ์นั้นมีแรงต้านทานการดึงได้ประมาณ 49 ล้านปาสกาล (MPa) แต่หากเป็นอะลูมีเนียมที่ผสมจะมีแรงต้านทานการดึงเพียง 400 ปาสกาล (MPa) เท่านั้น แน่นอนว่าแรงต้านมหาศาลขนาดนี้ทำให้ผู้ผลิตรถยนต์ หรือของแต่งรถต่างก็นำเอามาใช้ และไม่เพียงแค่ที่นั่ง เท่านั้น ยังมีชิ้นส่วนหลายๆ อย่างในรถที่เป็นอะลูมีเนียม เรียกว่าตั้งแต่โครงสร้าง ไปถึงบูธตัวเล็กๆ

 เสื้อสูบของรถแข่ง กับโครงสร้างรถ หรือแม้แต่ชุดเกียร์ ยังใช้อะลูมีเนียมคนละเบอร์ 

         พูดมาซะยาวยังไม่เข้าเรื่องของที่นั่งเลย เช่นนั้นว่ากันเลย ด้วยคุณสมบัติ และความพิเศษของอะลูมีเนียมในหลายด้านที่กล่าวมาโดยเฉพาะเรื่อง แรงต้านทานการดึง และความเบา จึงไม่แปลกใจที่ผู้ผลิตชิ้นส่วน อุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์เลือกใช้วัสดุชนิดนี้ และที่นั่งก็เช่นกัน เพราะ ที่นั่งเป็นส่วนหนึ่งที่ถูกแรงกระทำจากทิศทางต่างๆ ทั้งภายนอก และภายในตัวมันเอง

ที่ชัดเจนที่สุดคือแรง G  (Gravity คือ ความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก ที่กระทำต่อวัตถุต่างๆ ) ไม่ว่าจะเป็นแรง G จากการเบรก การเร่ง และชัดที่สุดแรง G จากการเหวี่ยง แต่ไม่ว่าจะเป็นแรงจากแนวไหนก็ถูกเรียกว่าแรง G ซึ่งหากวัสดุที่ไม่มีคุณสมบัติต้านทานการดึงแล้วมีหวัง ฉีก

เอาง่ายๆ แม้ในความเป็นจริงแล้วจะมีวัสุดอื่นที่สามารถทนต่อการดึงได้มากกว่า เบากว่า ทนความร้อนได้สูงกว่าอย่าง ไทเทเนียม (Titanium) ทีมีค่าความหนาแน่นสูง 4.5 กรัม/ตารางเซนติเมตร หรือ อินโคแนล (Inconel) ที่มีความหนาแน่นสูงถึง 8.19 กรัม/ตารางเซนติเมตร ในขณะที่อะลูมีเนียม (Aluminium) วัดได้เพียง 2.7 กรัม/ตารางเซนติเมตร ทว่าวัสดุเหล่านี้มีค่าตัวที่สูงกว่ามาก นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมต้องอะลูมีเนียม

 การเลือกเบอร์ของอะลูมิเนียมอยู่ที่จุดประสงค์การใช้ ของบางอย่างต้อง เจาะ พับ ดัด หรื่อเชื่อม 

          มีคำถามว่า แล้วเบอร์ที่ระบุสามารถบอกได้ไหมว่าเป็นเบอร์ของอะลูมีเนียมที่แข็งที่สุด คำตอบคือ ได้ แต่ไม่ใช่ว่าเบอร์ที่แข็งที่สุดจะเอามาใช้ทำของที่ต้องการได้ทั้งหมด เพราะของบางอย่างอาจต้อง เจาะ พับ ดัด หรื่อเชื่อม การเลือกเบอร์ที่แข็งที่สุดก็ไม่สามารถตอบโจทย์ได้ทั้งหมด ต้องดูที่ความเหมาะสมว่าจะเอาไปทำอะไร

ตัวอย่างเช่น เสื่อสูบของรถแข่ง กับโครงสร้างรถ หรือแม้แต่ที่นั่งเอง ยังใช้อะลูมีเนียมคนละเบอร์ การระบุว่าของนั้นๆ ทำจากอะลูมีเนียมเบอร์อะไร ก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นอะลูมิเนียมที่แข็งที่สุด แต่เป็นการบอกว่าให้ผู้เอาไปใช้ต้องทำอย่างไร เช่นต้องเชื่อมด้วยกำลังไฟฟ้าเท่าไร หรือใช้รอบในการกลึงเท่าไร หรือแช่ในน้ำยากัดแล้วชุบสีนานเท่าไรมากกว่า เป็นต้น

เพิ่มให้สำหรับเรื่องของการทำสีอะลูมิเนียมในเมืองไทย ณ เวลานี้ มีหลักๆ อยู่ 3 แบบ ได้แก่ Anodised  Aluminium วิธีนี้เป็นการเอาไปชุดสีต่างๆ ตามที่ต้องการ อีกวิธีคือการ พ่นด้วยสีฝุ่นที่เรียกว่า Powder Coated Aluminium และ การเคลือบ Fluorocarbon Aluminium ซึ่งไม่ว่าจะวิธีใดถือเป็นเพียงแค่เพิ่มความสวยงามให้ผิวหน้าของอะลูมีเนียม และปกป้องได้เล็กน้อยเท่านั้น ไม่ได้เพิ่มความแข็งแรง ตรงกันข้ามการทำสีบางชนิดอาจจะทำให้อะลูมีเนียมทนทานน้อยลง

เพราะฉะนั้นการเลือกใช้อะลูมีเนียมควรเลือกแบบที่เป็นผิวจริงถึงจะได้คุณสมบัติของวัสดุดีที่สุด โดยเฉพาะอะลูมีเนียมไม่จำเป็นต้องมีสีสันหลุดโลกก็ได้ เพราะผิวมีความมันวาวน่าคบหาอยู่พอสมควรแล้ว แค่ล้างผิว เช็ดให้สะอาดก็ดูดีแล้ว

 

 

 

Cr.butlerbuilt.net

เครดิต www.boxzaracing.com