ในอุตสาหกรรมรถยนต์เมืองไทย ที่มียอดขายราว 8 แสนคัน รู้หรือไม่ว่ารถปิกอัพ ทำยอดขายได้มากสุดคิดเป็น 45% จากยอดขายทั้งหมด

นั่นแปลว่า หากใครที่ครองแชมป์ ยอดขายรถปิกอัพเมืองไทยได้สำเร็จ ก็เท่ากับ เป็นหนึ่งในแบรนด์ที่ทรงอิทธิพล ในอุตสาหกรรมรถยนต์เมืองไทย และแบรนด์รถปิกอัพ ที่ก้าวมาถึงจุดนี้ได้ ก็คือ ISUZU โดยในปี 2563 ISUZU มียอดขายรถปิกอัพ 160,328 คัน ซึ่งมากกว่าคู่แข่งเบอร์สอง ถึง 23.4% โดยมีส่วนแบ่งตลาดที่ 43.9% เลยทีเดียว

 

ส่วนในปีล่าสุด 2564 ที่ผ่านมา

แม้ยอดขายภาพรวมรถยนต์ในเมืองไทย จะได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 อย่างรุนแรง และการขาดแคลนชิ้นส่วน semi-conductor กลับส่งผลกระทบ ให้หลายค่ายรถยนต์ มียอดขายลดลงจากปีก่อน ในขณะที่การแข่งขัน ก็ยังคงความดุเดือดเข้มข้นเหมือนเดิม

ผลก็คือ ISUZU ยังคงสร้างยอดขายอันดับหนึ่งในตลาดรถปิกอัพ ได้ถึง 150,741คัน ซึ่งมากกว่าคู่แข่งเบอร์สองถึง 17.2% โดยมีส่วนแบ่งตลาด 44.1%

แล้วอะไรที่ทำให้ ISUZU เป็นเบอร์หนึ่ง ในตลาดรถปิกอัพเมืองไทย ได้แม้ในช่วงโควิด-19 ? แกะกล่องจะมาวิเคราะห์ให้ฟัง

เวลาที่คนหนึ่งคน จะตัดสินใจซื้อรถปิกอัพสักคัน  ปัจจัยแรก ที่ต้องตัดสินใจซื้อ หรือไม่ซื้อ ก็คือ รถปิกอัพคันนั้น คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปหรือไม่

สิ่งที่จะชี้วัด ความคุ้มค่าได้ดีที่สุด ก็คือ รถปิกอัพคันนั้น มีสมรรถนะดีเยี่ยมมากแค่ไหน โดย ISUZU ก็เลือกตอบโจทย์เรื่องนี้ ตั้งแต่เริ่มต้นผลิต รถปิกอัพในเมืองไทย

หลายๆคน คงจำปรากฏการณ์เหล่านี้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการคิดค้นระบบ “Direct Injection” ซึ่งแรงกว่าระบบเก่า Swirl Chamber

ที่ใช้มาก่อนหน้านี้ถึง 12 แรงม้า และประหยัดน้ำมัน มากกว่าเดิมถึง 24% ทำให้ ณ เวลานั้น ได้สร้างภาพจำ ให้คนไทยรู้สึกว่า ISUZU เป็นรถปิกอัพที่แรงจัด ลุยได้ทุกสภาพถนน และประหยัดน้ำมันที่สุด หรือจะเป็นการเปิดตัว ปิกอัพรุ่นใหม่ ISUZU D-MAX ที่ได้นำเครื่องยนต์ 1.9 ดีดีไอ บลูเพาเวอร์ ซึ่งเป็นการนำเครื่องยนต์ ดีเซลขนาดเล็ก 1,900 ซีซี มาใส่ไว้ในตัวรถปิกอัพ เป็นครั้งแรกในโลก

ด้วยสมรรถนะทั้งด้านแรงม้า และการประหยัดน้ำมัน จนถึงการเปลี่ยนโฉมใหม่หมด ของ ALL-NEW ISUZU D-MAX  ที่กล่าวกันว่า นี่คือรถปิกอัพที่ดีที่สุด ทั้งตัวเทคโนโลยี และการดีไซน์ที่ ISUZU เคยมีมา

จะเห็นได้ว่า รถปิกอัพ ISUZU ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ยุค กี่สมัย ก็ยังคงรักษาจุดเด่น ในเรื่องสมรรถนะตัวรถ ที่ลุยได้ทุกสภาพถนน มีอายุการใช้งานได้นาน และประหยัดน้ำมันสูงสุด โดยสิ่งที่ยืนยันเรื่องนี้ ได้ดีที่สุด ก็คือ รถปิกอัพของ ISUZU คว้าแชมป์ การแข่งขันแรลลี่ สุดโหดมาแล้วหลายรายการ เช่น รายการเอเชียครอสคันทรีแรลลี่ ที่สามารถคว้าแชมป์อันดับ 1 ติดต่อกันถึง 5 ปีซ้อน

 เบื้องหลังความสำเร็จจุดนี้..

คงต้องยกความดีความชอบ ให้แก่โรงงานผลิต มาตรฐานระดับโลก 2 แห่ง  ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดฉะเชิงเทรา ที่มีกำลังการผลิต รวมกัน 346,000 คันต่อปี อีกทั้งกระบวนการผลิต รถปิกอัพทุกคันในโรงงาน ก็จะพิถีพิถันทุกขั้นตอนอีกเรื่องที่ขาดไม่ได้ ก็คือ ในวงการซื้อ-ขายรถปิกอัพมือสอง  ISUZU ถือเป็นแบรนด์ที่ มีราคาขายต่อมือสองสูง เมื่อเทียบกับรถปิกอัพค่ายอื่น ๆ

แล้วทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ?   เรื่องนี้ก็น่าจะมาจาก 3 เหตุผลหลัก ๆ

เหตุผลแรก

มาจากนโยบายหลัก ที่ให้ดีลเลอร์โชว์รูมต่าง ๆ ไม่เล่นเกม “สงครามราคา” แต่จะเป็นการขาย ถึงคุณภาพตัวรถปิกอัพ พร้อมบริการเหนือชั้น  “Omotenashi” ที่คุ้มค่ากับเงินที่จ่าย

เหตุผลที่2

เมื่อเป็นรถปิกอัพ ที่มีอายุการใช้งานยืนยาว และคงทน  ทำให้ผู้ซื้อรถมือสองยอมซื้อต่อในราคาสูง และสุดท้าย ก็น่าจะเป็น เรื่องของอะไหล่รถ ในการซ่อมบำรุงที่หาเปลี่ยนได้ง่าย มีตามท้องตลาดทั่วไป

ส่วนเหตุผลข้อสุดท้าย

ที่ทำให้ ISUZU เป็นเบอร์หนึ่ง ในตลาดรถปิกอัพเมืองไทย ก็คือ การมีเครือข่ายโชว์รูมกว่า 340 แห่งทั่วประเทศ ที่มาพร้อมกับ บริการหลังการขาย เหนือระดับที่ลูกค้ามั่นใจ และที่น่าสนใจคือ จากสถานะที่ “ดีอยู่แล้ว” แต่ ISUZU ก็ยังเชื่อว่าตัวเองยังทำได้ดีขึ้นไปอีก

ทำให้ล่าสุดบริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด ได้ร่วมมือกับดีลเลอร์ทั่วประเทศ ปรับเปลี่ยนโชว์รูมและศูนย์บริการ ให้มีดีไซน์ที่ทันสมัยมากขึ้น สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้นกว่าเดิม

จริง ๆ แล้วการเติบโตของรถปิกอัพ ISUZU คนที่ได้ผลประโยชน์ คงไม่ใช่แค่กลุ่มตรีเพชร และดีลเลอร์ที่เป็นผู้จำหน่ายอย่างเดียว

ส่วนอีกหนึ่งคนสำคัญ ที่ได้ประโยชน์ ก็คือ กลุ่มลูกค้า ที่ส่วนใหญ่จะซื้อรถปิกอัพ ISUZU ไว้ใช้สร้างรายได้ในธุรกิจตัวเอง และใช้ส่วนตัว ด้วยความมั่นใจในคุณภาพ และสมรรถนะ

ทำให้ ISUZU จึงไม่ใช่แค่แบรนด์รถยนต์ธรรมดาทั่วไป แต่ยังเป็นแบรนด์ ที่ช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ให้แก่ประเทศไทยอีกด้วย..

ติดตามเนื้อหาได้ที่ #แกะกล่องสาระ

 

เครดิต

www.thairath.co.th

www.thairath.co.th

www.headlightmag.com

#แกะกล่องสาระ