เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2565 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2565 เรื่องการคาดเข็มขัดนิรภัย

รู้จักเข็มขัดนิรภัยแบบ ELR และ ALR

กฎหมายข้างต้น กำหนดให้ผู้โดยสาร ที่นั่งแถวตอนหน้าและที่นั่งแถวตอนอื่น ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งตลอดเวลาในขณะโดยสารรถยนต์ มีผลบังคับใช้วันที่ 5 กันยายน 2565 และกำหนดบทลงโทษ หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรา 148 ระบุไว้ชัดว่า ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

นั่นหมายความว่าต่อจากนี้ ผู้ขับขี่ และผู้โดยสารจะต้องคาดเข็มขัดนิรภัยทุกคนในการโดยสารรถยนต์ โดยในวันนี้ เราได้นำสาระน่ารู้เกี่ยวกับเข็มขัดนิรภัย ELR และ ALR ที่อยู่ภายในรถยนต์แต่ละคันว่ามีความต่างกันอย่างไรบ้าง มีข้อดี ข้อเสียอย่างไรบ้าง

เข็มขัดนิรภัยในรถรุ่นต่างๆ มีทั้งหมด 2 แบบ คือ แบบรั้งตัวและดึงกลับอัตโนมัติ และแบบล็อกโดยอัตโนมัติ

Emergency Locking Retractor หรือ ELR คือ เข็มขัดนิรภัยแบบรั้งตัวและดึงกลับอัตโนมัติ

เข็มขัดชนิดนี้จะใช้ชุดเฟืองในการจัดเก็บหรือดึงสายเพื่อมาใช้งาน เมื่อผู้ใช้งานดึงเข็มขัดมาสวมใส่กลไกนี้จะปรับความยาวให้เหมาะสมโดยอัตโนมัติ เมื่อตัวล็อกสายเกิดการเปลี่ยนแปลงองศาจากการถูกดึงอย่างรุนแรงก็ ทำการล็อคเฟืองและค่อยๆ คลายชิ้นส่วนเฟืองและสายให้อยู่ในสภาพปกติ รวมทั้งการเปลี่ยนองศาของตัวรถทั้งขึ้นเนินลงเนิน หรือทางเอียง กลไกก็จะล็อกสายให้เองโดยอัตโนมัติ

ส่วนใหญ่จะพบได้ในเข็มขัดนิรภัยแบบล็อก 3 จุด ที่เบาะนั่งคู่หน้า, เบาะนั่งริมหน้าต่าง รวมไปถึงเบาะนั่งตรงกลางด้านหลังของรถรุ่นใหม่ๆ

ข้อดี ขยับตัวได้ เข็มขัดนิรภัยไม่รัดแน่นจนเกินไป เคลื่อนไหวง่าย คล่องตัวในการขับขี่ ลดอาการบาดเจ็บจากการถูกสายรัดได้ดีกว่า และที่สำคัญก็คือสามารถรองรับการทำงานร่วมกับถุงลมนิรภัยได้ด้วย

ข้อเสีย ผู้ขับขี่และผู้โดยสารที่ยังเคลื่อนที่ได้ ทำให้เวลาที่ต้องยึดเบาะเด็กจะต้องใช้ตัวล็อกสายด้วย เนื่องจากเข็มขัดชนิดนี้คลายตัวได้ง่ายมาก

Automatic Locking Retractor หรือ ALR คือ เข็มขัดนิรภัยแบบล็อกโดยอัตโนมัติ

กลไกในเข็มขัดแบบนี้คือ ผู้ใช้งานสามารถดึงสายในความยาวที่ต้องการได้และจะล็อกทันทีที่มีการปรับเสร็จ ซึ่งหากผู้ใช้ดึงสายผิดวิธีหรือกระชากก็จะล็อกโดยอัตโนมัติด้วยเหมือนกัน ส่วนใหญ่ใช้กับตัวล็อกแบบ 2 จุด ปรับล็อกได้ตามสรีระของคน เช่นบนเครื่องบินหรือเบาะนั่งตอนหลัง เข็มขัดชนิดนี้ประกอบกลไกแบบไม่ซับซ้อนเท่า ELR

ข้อดี สามารถยึดเบาะเด็กได้มั่นคงกว่า ประหยัดพื้นที่เนื่องจากชุดเข็มขัดดังกล่าวมีขนาดที่เล็ก ประยุกต์แบบยึดเข็มขัดได้ตั้งแต่ 2 จุด – 3 จุด ซึ่งส่วนมากเข็มขัดนิรภัยลักษณะนี้จะอยู่ที่เบาะหลังมากกว่า

ข้อเสีย สร้างความอึดอัดให้กับผู้โดยสารเป็นอย่างมาก ไม่สามารถขยับได้เยอะ ทำให้เคลื่อนไหวได้ยากลำบาก

รู้จักเข็มขัดนิรภัยแบบ ELR และ ALR กันแล้ว ก็คาดเข็มขัดนิรภัยกันเถอะ เพราะหากไม่คาดเข็มขัดนิรภัย นอกจากจะอันตรายแล้วยังผิดกฎหมายอีกด้วย

ที่มา smileinsure

 

 

เครดิต www.autospinn.com