ขับแต่เกียร์ออโต… ลองเปลี่ยนมาขับเกียร์ธรรมดาได้ ไม่มีอะไรยาก!!

ปัจจุบันคนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่มักเริ่มต้นฝึกขับรถจากรถ เกียร์ออโต เเละขับเเต่รถ เกียร์ออโต มาโดยตลอด แถมอาจถูกเพื่อนฝูงหรือคนรอบข้างฝังหัวว่าการขับรถ เกียร์ธรรมดา เป็นเรื่องยาก มีแต่ในรถเก่า ขับ เกียร์ออโต แบบเดิมดีกว่าสะดวกสบายกว่า พาลทำให้หลายคนไม่เคยคิดอยากลองเรียนขับรถ เกียร์ธรรมดา แต่ทุกสิ่งอย่างย่อมมีข้อดีในตัวเเตกต่างกัน รวมถึง เกียร์ธรรมดา ด้วยเช่นกัน นี่คือความแตกต่างของ เกียร์ธรรมดา ที่โดดเด่นกว่า เกียร์ออโต ไม่สามารถทำได้ เเละวิธีการขับเกียร์ธรรมดา แบบพื้นฐานเผื่อใครสนใจอยากลองเปลี่ยนมาขับ เกียร์ธรรมดา แทน

ข้อดีของ เกียร์ธรรมดา ที่มีมากกว่า เกียร์ออโต

  1. ทนกว่า – กลไกการทำงานของ เกียร์ธรรมดา ไม่มีอะไรซับซ้อนเหมือน เกียร์ออโต อายุการทำงานยาวนานหากขับแบบเข้าเกียร์ได้ถูกวิธี
  2. ดูเเลรักษาง่าย – เช่นเดียวกับ เกียร์ออโต เกียร์ธรรมดา ก็ต้องมีการเปลี่ยนน้ำมันเกียร์เช่นกัน เเต่ระยะเวลาในการเติมน้ำมันเกียร์แตกต่างกันสิ้นเชิง เกียร์ออโต อาจเปลี่ยนน่ำมันเกียร์หลังจากใช้งานไป 20,000 – 40,000 กิโลเมตร แต่ เกียร์ธรรมดา 50,000 กิโลเมตรขึ้นไปค่อยเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ก็ได้
  3. ประหยัดน้ำมันกว่า – ตามที่บอกข้อ1 ว่ากลไกการทำงานของ เกียร์ธรรมดา ไม่มีอะไรซับซ้อน เมื่อการทำงานไม่ต้องอาศัยกลไกอะไรมาก ก็ไม่ต้องใช้พลังงานมาก อัตราสิ้นเปลืองก็น้อยกว่าเกียร์ออโต
  4. ราคาถูกกว่า – แน่นอนว่ารถยนต์ เกียร์ธรรมดา ในท้องตลาดไม่ว่าจะเป็นมือหนึ่งหรือมือสองย่อมราคาถูกกว่ารถยนต์ เกียร์ออโต อยู่เเล้ว
  5. อัตราเร่งตอบสนองกว่า – มักมีคำพูดว่ารถ เกียร์ธรรมดา ขับสนุกกว่ารถ เกียร์ออโต สนุกกว่ายังไง? ก็เพราะเกียร์ธรรมดาผู้ขับขี่สามารถปรับเปลี่ยนจังหวะการเข้าเกียร์ ความเร็วได้ด้วยตัวเอง สามารถควบคุมทุกอย่างไว้ในมือคุณ

วิธีหัดขับรถ เกียร์ธรรมดา สำหรับมือใหม่

  1. แป้นเหยียบซ้ายสุดคือ คลัทช์ แป้นกลาง คือเบรก และแป้นคันเร่งจะอยู่ด้านขวามือสุด
  2. คลัทช์ทำหน้าที่ปลดกำลังเครื่องยนต์ที่กำลังหมุนจากล้อรถยนต์ที่หมุนอยู่ เพื่อยอมให้คุณเปลี่ยนเกียร์ โดยไม่ทำให้เกิดการเสียดสีของฟันเกียร์ก่อนที่คุณจะเปลี่ยนเกียร์ (เปลี่ยนขึ้น หรือลง) คลัทช์ต้องถูกกดจนสุดพื้นรถ
  3. ลองโยกหัวเกียร์ว่าอยู่ในตำแหน่งเกียร์ว่างตรงตัว N หรือไม่ซึ่งคุณจะไม่รู้สึกสะดุดเมื่อโยกหัวเกียร์จากข้างหนึ่งไปอีกข้างหนึ่งแล้วจึงค่อยสตาร์ทเครื่องยนต์
  4. เหยียบแป้นคลัทช์ให้ติดพื้นรถและค้างไว้ เข้าเกียร์ 1แล้วค่อยๆ ใช้เท้าปล่อยแป้นคลัทช์อย่างช้าๆ และมั่นคง ซึ่งการเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์จะใช้วิธีเดียวกันนี้ทุกครั้ง
    • เกียร์ 1 – ใช้ในการออกตัว ความเร็วต่ำมาก
    • เกียร์ 2 – เข้าต่อจากเกียร์ 1 ที่รอบความเร็วต่ำ หรือทดเวลาขึ้นเนินหรือเลี้ยว-ชะลอในความเร็วต่ำ
    • เกียร์ 3 – สามารถทดความเร็วเมื่อเข้าโค้งในความเร็วเริ่มคงที่
    • เกียร์ 4,5 – เกียร์ที่ใช้ขับในความเร็วปกติ 80 กิโลเมตร/ชั่วโมงขึ้นไป
    • เกียร์ว่าง(N) – เมื่อจอดรถควรใส่ตำแหน่งเกียร์ที่ N
    • เกียร์ถอยหลัง(R) – เข้าตำแหน่งเกียร์ที่ R เมื่อต้องการถอยหลัง
  5. เมื่อยกเท้าของคุณออกจากแป้นคลัทช์ช้าๆ จนกระทั่งคุณได้ยินเสียงความเร็วเครื่องเริ่มตกลง. จากนั้นให้กดแป้นคลัทช์ซ้ำอีกครั้ง ทำซ้ำหลายๆ ครั้ง จนกระทั่งคุณสามารถจดจำเสียงนี้ได้ นี่คือจุดที่คลัทช์กดตัวลงบนล้อตุนกำลัง หรือเรียกว่าจุด Friction Point

เครดิต www.mthai.com