ข้อควรระวังตอนขับบนไหล่ทาง และสิ่งที่ควรปฏิบัติถ้าต้องจอดบนไหล่ทาง

เป็นที่รู้กันว่า การขับรถบนไหล่ทาง นั้น ถือเป็นเรื่องที่ ผิดกฏหมาย และไม่ควรทำ เพราะปกติแล้วช่องทางนี้เปิดไว้ให้สำหรับรถที่เกิดเหตุฉุกเฉินต่างๆเท่านั้น เช่น จอดรถเสีย อุบัติเหตุ หรือ รถมูลนิธิ รวมไปถึง รถพยาบาล แต่ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันนี้ เราก็ยังเห็นรถใช้เส้นทางนี้เป็นปกติ แม้ว่านักขับส่วนใหญ่จะรู้ว่าที่จริงแล้วมันเป็นเรื่องที่ผิดกฏหมายก็ตาม แต่อันที่จริงแล้วการขับรถบนไหล่ทางนั้น แท้จริงแล้วมันก็ไม่ได้ปลอดภัยซะทีเดียว เราลองมาดูกันดีกว่าว่า นอกจากผิดกฏหมายแล้วเราควรต้องระวังอะไรอีกถ้าเราคิดจะขับรถบนไหล่ทาง

สิ่งที่เราควรระวังเมื่อขับรถบนไหล่ทางเลยก็คือ การทำทางซ่อมปรับปรุงถนน การขับขี่บนเส้นทางการเดินทางออกต่างจังหวัด เราอาจจะเจอเส้นทางที่ไม่ปกติสมบูรณ์ก็เป็นได้ เช่นการปรับพื้นผิวถนนใหม่ ที่ข้างทางหรือไหล่ทางทำยังไม่เสร็จ แล้วพื้นผิวถนนยังไม่สมบูรณ์ เช่นถนนเป็นหลุมเป็นบ่อหรือทางขรุขระนั่นก็อาจจะทำให้เป็นอันตรายต่อการขับขี่ก็เป็นได้

รถจอดเสีย หรือสิ่งกีดขวางบนถนน เป็นเรื่องที่นักขับส่วนใหญ่รู้กันดีว่า ถ้าเกิดเหตุฉุกเฉินหรือรถเสีย ถ้ายังสามารถบังคับรถได้อยู่ การบังคับรถเข้าจอดบนไหล่ทางถือเป็นเรื่องที่ควรทำ ดังนั้นเมื่อรู้อย่างนี้แล้ว พึงคิดไว้ถ้าจะขับรถบนไหล่ทางว่า เราอาจจะเจอรถจอดเสียอยู่ รวมไปถึง อาจจะเจอกรวยหรือแท่งแบริเออร์ที่ตั้งไว้เพื่อเปิดให้รถจากเส้นทางอื่นเช่นทางคู่ขนานเข้ามาในเส้นทางที่เราสัญจรด้วยก็ได้เช่นกัน

รถโดยสารจอดรับส่งคน ถ้าจะพูดให้เห็นได้ชัดแบบเจนเลยก็คือ ใน กทม. เลยซ้ายสุดจะเป็นเลนสำหรับรถเมล์หรือรถสองแถว ซึ่งถ้าไม่อยากหงุดหงิดในการที่ต้องรอรถจอดรับส่งคนก็ควรหลีกเลี่ยงเส้นทางนี้โดยด่วน

แซงซ้ายผิดกฏหมาย ตามกฏหมายระบุไว้อย่างชัดเจนตาม พรบ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 45 ระบุว่า ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถแซงเพื่อขึ้นหน้ารถคันอื่นทางด้านซ้าย ดังนั้นถ้าคิดจะแซงก็เตรียมเงินค่าปรับไว้ด้วยนะจ๊ะ

สุดท้ายคือกีดขวางการทำงานของรถฉุกเฉิน เช่นรถพยาบาล เรื่องนี้คงไม่ต้องอธิบายเพราะนักขับส่วนใหญ่คงจะรู้กันดี แต่ในกรณีที่รถเสียแล้วจำเป็นต้องเอารถเข้าจอดบนไหล่ทาง เราก็มีข้อควรปฏิบัติมาบอกกล่าวเช่นกัน คือ

  1. เปิดไฟฉุกเฉิน เข้าเกียร์ว่าง ขึ้นเบรคมือเหมือนจอดรถปกติ
  2. โทรแจ้งเหตุฉุกเฉิน ทางด่วน กทพ. 1543, สายด่วนโทล์เวย์ Tollway Call Center 1233 ( 24 ชม.), สายด่วยรถเสีย 1197
  3. ในระหว่างที่รอเจ้าหน้าที่ก็ควรยืนท้ิงระยะห่างจากรถ ให้ไกลพอสมควร หรือถ้าจำเป็นที่ต้องนั่งในรถก็ควรที่จะรัดเข็มขัดนิรภัยไว้เพื่อความปลอดภัย แต่เราแนะนำว่าควรจะยืนรอนอกรถแล้ว เว้นระยะห่างจากตัวรถจะดีกว่า เผื่อไว้ในกรณีที่มีรถฝ่าฝืนกฏจราจร แซงซ้ายมาด้วยความเร็วแล้วเกิดชนรถเรา ตัวเราเองจะได้ปลอดภัย จากอุบัติเหตุ

เครดิต www.mthai.com