เหนื่อยจากการเดินทาง นอนหลับในรถได้ แค่รู้เทคนิคชีวิตก็ปลอดภัย

คนที่เดินทาง ไปพักผ่อนหย่อนใจตามสถานที่เที่ยวต่างๆทั่วประเทศไทย แต่ก็มีบางส่วนที่เดินทางกลับถิ่นฐานบ้านเกิด ซึ่งแน่นอนว่าจะคนส่วนใหญ่เลือกที่จะขับ รถยนต์ส่วนตัว กันไป เพราะง่ายและสะดวกต่อการเดินทาง อีกทั้งยังสามารถแวะพักที่ไหนก็ได้ ตามใจอยาก แต่ในระหว่างการเดินทางบางทีผู้ขับขี่ก็อาจจะมีการแวะงีบพักหลับเพราะความเหนื่อยล้าจากการขับขี่กันบ้าง เราจึงมี เทคนิค การหลับในรถ อย่างไรให้ปลอดภัยมาบอกกัน

เชื่อว่าคนส่วนใหญ่คงจะเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับเรื่องที่คน นอนหลับในรถ แล้วตายไปเลยกันมาบ้าง ซึ่งบางคนก็อาจจะสงสัยกันว่าทำไมถึงตาย แล้วสาเหตุของการตายคืออะไร? โดยสาเหตุที่ทำให้คนที่หลับในรถแล้วตายส่วนใหญ่เกิดมาจากการติดเครื่องยนต์แล้ว เปิดแอร์นอนในรถนั่นเอง นี่แหละที่ต้นเหตุหลักๆ เลย เนื่องจากขณะที่ติดเครื่องยนต์ เปิดแอร์ โดยที่เราอยู่ในห้องโดยสารปิดกระจกแบบมิดชิด และรถจอดนิ่งสนิทนั้น ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ที่เผาไหม้อยู่ในไอเสียรถยนต์ จะไหลเข้ามาหมุนเวียนอยู่ในตัวรถได้โดยผ่านทางระบบแอร์รถยนต์ ทำให้เราสูดดมเข้าไปในร่างกายโดยที่เราไม่รู้ตัว ในขณะที่เราหลับอยู่ และเมื่อสะสมอยู่ในร่างกายมากๆเข้า ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ที่หากเราจะเรียกว่าเป็นก๊าซพิษก็ไม่ผิดนัก จะเข้าไปรวมกับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง และมีปริมาณมากกว่าก๊าซออกซิเจนสูงถึง 200 – 250 เท่าตัว จนสุดท้ายออกซิเจนก็มีไม่เพียงพอต่อการเข้าไปหล่อเลี้ยงร่างกาย ส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลีย ปวดศรีษะ อาเจียน และอาจรุนแรงถึงขั้นทำลายระบบหายใจทำให้ล้มเหลวเสียชีวิตได้เลยทีเดียว

อันที่จริงถ้าเราจะพักนอนหลับในรถ ก็สามารถทำได้ เพียงแค่รู้เทคนิคพื้นฐานและขั้นตอนดังต่อไปนี้ คือ

  1. ดับเครื่องยนต์ลดกระจกลง 2-3 เซนติเมตร เพื่อให้มีออกซิเจนจากข้างนอกเข้ามาหมุนเวียนในรถบ้าง และสิ่งสำคัญที่ต้องจำให้แม่นก็คือ “ห้ามเปิดแอร์”
  2. เปิดพัดลมแอร์ เปิดระบบไฟในรถด้วยการบิดกุญแจไปหนึ่งสเต็ปเพื่อให้ระบบไฟในรถทำงาน แล้วหลังจากนั้นก็เปิดแอร์ขึ้นมา กดสวิตซ์ A/C หรือ สวิตซ์ที่มีรูป ลูกศรชี้เข้าหาตัวรถ เพื่อเปิดพัดลมแอร์ ให้พัดเอาอากาศจากภายนอกเข้ามาหมุนเวียนในห้องโดยสาร โดยเราควรใช้ระยะเวลาในการนอนพักประมาณ 30 นาทีเป็นอย่างน้อยเพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวจากอาการหนื่อยล้า
  3. เลือกหาที่จอดนอนให้เหมาะเจาะ อย่าเลือกจอดในที่ลับตาคน หรือที่มืด และควรล็อครถทุกครั้งที่จะจอดนอน เพื่อความปลอดภัยในชีวิต รวมถึงทรัพย์สิน

เครดิต www.mthai.com