ความรู้เกี่ยวกับ “เมื่อไรเปลี่ยนผ้าเบรก”

ความรู้เกี่ยวกับ “แบตเตอรี่รถยนต์” พร้อมวิธีการดูแลรักษาและสาเหตุที่ทำให้แบตเตอรี่เสื่อม

ความรู้เรื่องแบตเตอรี่ สาเหตุที่ทำให้แบตเตอรี่เสื่อม ส่วนประกอบของแบตเตอรี่ หน้าที่ของแบตเตอรี่ ชนิดของแบตเตอรี่ น้ำกรด(Electrolyte) ไฮโดรมิเตอร์(Hydrometer) วิธีสังเกตแบตเตอรี่เสื่อม การดูแลรักษาแบตเตอรี่ การพ่วงสายแบตเตอรี่…

1. แบตเตอรี่ คืออะไร?

แบตเตอรี่ เป็นอุปกรณ์จัดเก็บ และจ่ายกระแสไฟฟ้า โดยมีลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยม ที่มีการทำปฏิกิริยาเคมีภายใน ทำให้เกิดไฟฟ้า ซึ่งเป็นแหล่งรวมพลังไฟฟ้าของรถ แบตเตอรี่ให้กระแสไฟฟ้าแก่รถในการสตาร์ทเครื่องโดยการจ่ายไฟฟ้าให้แก่ไดร์สตาร์ทเพื่อให้เครื่องยนต์ติด จากนั้นระบบไฟฟ้าที่ใช้ในรถจะมาจากไดชาร์จ ยกเว้นกรณีการใช้อุปกรณ์บางอย่างเช่นใบปัดน้ำฝน ไฟหน้ารถ ไฟเลี้ยว ฯลฯ จะมีการจ่ายกระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ช่วยในการทำงาน แบตเตอรี่ที่ติดรถเรียบร้อยแล้วจะได้รับการเติมไฟฟ้าจากไดร์ชาร์จเมื่อกระแสไฟฟ้าในแบตเตอรี่ลดลงเนื่องจากการนำกระแสไฟฟ้าไปใช้ (โดยกระบวนการชาร์จไฟนี้จะทำงานในขณะที่เครื่องยนต์ติด)

2. ส่วนประกอบของ แบตเตอรี่

  • ขั้วแบตเตอรี่ (Pole)
  • แผ่นธาตุลบ (Negative Plate)
  • แผ่นกั้น (Separator& Glass mat)
  • แผ่นธาตุบวก (Positive Plate)
  • จุกปิด (Vent Plug)
  • เปลือกหม้อและฝาหม้อ (Container3 & Lid)
  • ขั้ว (Terminal Pole)

3. หน้าที่ของ แบตเตอรี่

แหล่งพลังงานจ่ายไฟให้แก่สตาร์ทเตอร์ และระบบจุดระเบิดให้แก่เครื่องยนต์ เพื่อให้เครื่องยนต์หมุนและติดเครื่องได้
เป็นแหล่งให้พลังงานแก่ระบบไฟฟ้าอื่นๆในรถยนต์เมื่อระบบไฟฟ้าในรถยนต์ต้องการกำลังไฟฟ้ามากกว่าที่ระบบจ่ายไฟของรถยนต์จะจ่ายได้
รักษาระดับกระแสไฟให้คงที่

4. ชนิดของแบตเตอรี่

แบตเตอรี่แบบธรรมดา (เติมน้ำกรดแล้วชาร์จไฟในครั้งแรก จากนั้นต้องหมั่นดูแลระดับน้ำอย่างสม่ำเสมอ)
แบตเตอรี่แบบไม่ต้องเติมน้ำกลั่น (Free Maintenance) หรือโดยทั่วไปนิยมเรียกว่า “แบตแห้ง” (แบตเตอรี่ชนิดนี้มีการเติมน้ำกรดและชาร์จไฟมาจากโรงงาน ก่อนการติดตั้งสินค้าในครั้งแรกต้องทำการกระตุ้นแผ่นธาตุโดยการชาร์จไฟฟ้าระยะสั้นประมาณ 5-10 นาที จากนั้นไม่ต้องดูแลระดับน้ำในระยะแรก (6 เดือนแรก) หลังจากนั้นควรดูแลประมาณ 3 เดือนครั้ง เนื่องจากแบตเตอรี่ชนิดนี้มีระบบป้องกันการระเหยของน้ำทำให้มีการระเหยของน้ำในแบตเตอรี่ต่ำมาก

5. สาเหตุที่ทำให้แบตเตอรี่เสื่อม

  • การประจุไฟที่น้อยเกินควร Under Charging
    อาการ และลักษณะที่เกิดขึ้น:

    • เกิดคราบขาวที่แผ่นธาตุของแบตเตอรี่ส่งผลให้ประจุไฟได้ยาก
    • ทำให้แผ่นธาตุจะเสื่อมสภาพ
  • การประจุไฟที่มากเกินควร Over Charging
    อาการ และลักษณะที่เกิดขึ้น:

    • น้ำกลั่นแปรสภาพเป็นแก๊สมากทำให้ระดับน้ำกลั่นลดลง
    • อุณหภูมิสูงขึ้นมากทำให้แผ่นธาตุเสื่อม
    • ทำให้ผงตะกั่วเกิดการสึกกร่อนจากแผ่นธาตุ
    • แผ่นธาตุงอโค้ง
    • ลดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่
  • การลัดวงจรในช่องแบตเตอรี่ Short Circuit
    อาการ และลักษณะที่เกิดขึ้น:

    • เกิดตะกอนที่อยู่ส่วนล่างของหม้อแบตเตอรี่มากเกินไป
    • เกิดจากการแตกหักหรือการเสื่อมสภาพของแผ่นกั้นระหว่างแผ่นธาตุบวก และแผ่นธาตุลบ
  • ปัญหาระบบไฟในรถยนต์
    อาการ และลักษณะที่เกิดขึ้น:

    • การติดเครื่องเสียง สัญญาณกันขโมย อุปกรณ์เสริมในรถเพิ่มเติม (ไฟไม่พอ)
    • การเปลี่ยนแปลงขนาดของแบตเตอรี่
    • การลัดวงจรของสวิทซ์ไฟต่างๆในรถ
    • ประสิทธิภาพการทำงานของไดชาร์จไม่เต็มที่
  • การมีสารอันตรายปะปนในหม้อแบตเตอรี่ Impurity
    อาการ และลักษณะที่เกิดขึ้น:

    • น้ำกรดไม่ได้คุณภาพ
    • น้ำกลั่นที่เติมลงไปไม่บริสุทธิ์
    • เติมน้ำกลั่นสี (สารหล่อเย็น) ลงไป
  • การเกิดซัลเฟต (Sulfation)
    แผ่นธาตุที่มีผลึกซัลเฟตสีขาวเกาะติดอยู่ที่บริเวณแผ่นธาตุ เกิดจาก…..

    • ปล่อยทิ้งแบตเตอรี่ไว้นานๆ โดยไม่นำไปใช้
    • การประจุไฟที่น้อยเกินไป (Under Charging)
    • แผ่นธาตุโผล่พ้นระดับน้ำกรด

6. น้ำกรด (Electrolyte)

น้ำกรดซัลฟูริค (Sulfuric Acid) เป็นตัวนำไฟฟ้าระหว่างแผ่นธาตุบวก และลบ น้ำกรดที่ใช้ในประเทศไทยควรมีค่า ถ.พ. ระหว่าง 1.24-1.25 ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส

การเติมน้ำกรด:

ใช้น้ำกรดที่มีค่าความถ่วงจำเพาะอยู่ระหว่าง 1.240-1.250
ใส่น้ำกรดลงในทุกช่องแบตเตอรี่จนถึงระดับ UPPER
ตั้งแบตเตอรี่ทิ้งไว้ในร่มประมาณ 1 ชม. เพื่อให้ซึมเข้าแผ่นธาตุ
ถ้าน้ำกรดลดลง ให้เติมน้ำกรดอีกครั้งจนถึงระดับ UPPER

7. ไฮโดรมิเตอร์ (Hydrometer)

เครื่องวัดความถ่วงจำเพาะ (ถ.พ.) เป็นเครื่องมือสำหรับวัดความเข้มข้นของน้ำกรด ใช้ตรวจสอบความผิดปกติของแบตเตอรี่แต่ละช่อง หรือใช้ตรวจเช็คการลัดวงจรภายในช่องใด ช่องหนึ่ง ของแบตเตอรี่ เพราะฉะนั้นถ้าความถ่วงจำเพาะไม่ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดจะต้องนำแบตเตอรี่ไปชาร์ตไฟใหม่ (ในกรณีแบตเตอรี่ใหม่) และหากตรวจพบว่ามีช่องใดช่องหนึ่งมีค่า ถ.พ. ต่ำกว่าช่องอื่นสามารถวิเคราะห์ได้ว่าเกิดการลัดวงจรในช่องนั้นๆ (ในกรณีแบตเตอรี่ที่ใช้งานไปแล้ว)

ปริมาณไฟฟ้าในแบตเตอรี่ ความถ่วงจำเพาะ ความต่างศักย์ไฟฟ้า(V)
100%     1.25   12.6
75%     1.23   12.4
50%     1.2     12.2
25%     1.17   12.00 ต้องนำไปอัดไฟใหม่

8. วิธีสังเกตแบตเตอรี่เสื่อม

  • เมื่อมีอาการต้องเติมน้ำกลั่นบ่อยๆ (สำหรับแบตเตอรี่ธรรมดา)
  • ไฟหน้าไม่สว่างตอนเช้าสตาร์ทรถติดยาก (เสียงเครื่องหมุนช้า)
  • กระจกไฟฟ้าเริ่มทำงานช้าลง ระบบไฟฟ้าอื่นๆในรถทำงานช้าลง
  • เมื่อแบตเตอรี่ใช้งานมานานกว่า 1.5 – 2 ปี
  • ไดสตาร์ทไม่สามารถทำงานได้
  • แผ่นธาตุภายในเกิดอาการบวม
  • น้ำกรดภายในลดลง (แห้ง) ต่ำกว่าแผ่นธาต

9. การดูแลรักษาแบตเตอรี่

  • ทำความสะอาดสายไฟ ทั้งบวกลบ และแบตเตอรี่ด้วยน้ำอุ่น และเช็ดให้แห้งอยู่เสมอ
  • ตรวจเช็คทำความสะอาดขั้วแบตเตอรี่ และทาด้วยวาสลิน เพื่อป้องกับคราบขี้เกลือ
  • ตรวจเช็คน้ำกลั่นสม่ำเสมอ ไม่ปล่อยให้น้ำแห้ง
  • ไม่เติมน้ำกลั่นให้เกินกว่าขีดสูงสุด และต่ำกว่าขีดต่ำสุด
  • ตรวจวัดระดับกระแสไฟแบตเตอรี่อย่างสม่ำเสมอ
  • ตรวจเช็คไดร์ชาร์จ เมื่อระบบไฟอ่อน
  • ตรวจสอบความมั่นคงของการติดตั้ง
  • ห้ามเติมน้ำกรด และน้ำกลั่นที่มีสีหรือสารเคมีโดยเด็ดขาด
  • ห้ามสูบบุหรี่ ขณะตรวจเช็คน้ำในแบตเตอรี่ เพราะอาจจะระเบิดได้
  • ตาแมวของแบตเตอรี่แห้งใช้ดูกำลังไฟโดย (สีน้ำเงิน=ไฟดีอยู่ / สีส้มแดง=แบตเตอรี่มีปัญหาจะต้องชาร์ตไฟหรือเติมน้ำกลั่น / สีขาว=แบตเตอรี่เสียหรือเสื่อมคุณภาพ ต้องเปลี่ยนลูกใหม่)

10. การพ่วงสายแบตเตอรี่

  • สายเส้นแรก เริ่มหนีบขั้ว + ของแบตเตอรี่ลูกที่ไฟหมด โดยถือปลายสายอีกด้านลอยไว้ แล้วจึงหนีบขั้ว + ของแบตเตอรี่ลูกที่มีไฟ สายเส้นที่สอง หนีบขั้ว – ของแบตเตอรี่ลูกที่มีไฟ แล้วหนีบอีกปลายเข้ากับตัวถังหรือโลหะในห้องเครื่องยนต์ของรถยนต์คันที่ไม่มีไฟ (ไม่ควรหนีบเข้ากับขั้ว – ของแบตเตอรี่ที่ไฟหมด เพื่อป้องกันการระเบิดของแบตเตอรี่เมื่อเครื่องยนต์ทำงาน ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก)
  • จากนั้นสตาร์ทเครื่องยนต์ของรถยนต์คันที่มีไฟ แล้วจึงสตาร์ทเครื่องยนต์คันที่ถูกพ่วง
  • เมื่อเครื่องยนต์ติดแล้วจึงถอดสายพ่วงออกทีละขั้ว โดยเริ่มจากปลายสาย – ด้านที่หนีบอยู่กับตัวถังรถ แล้วจึงถอดปลายอีกด้าน จากนั้นให้ถอดปลายสาย + ที่หนีบอยู่กับแบตเตอรี่ลูกที่มีไฟ แล้วจึงถอดปลายสายอีกด้าน โดยในการถอดก็ต้องระวังไม่ให้ปลายสายสัมผัสกับสิ่งใด

เครดิต www.isuzu-cck.com