สัดส่วนความต้องการใช้รถกระบะในไทยสูงที่สุดในบรรดารถประเภทอื่นๆ (จากตัวเลขการจดทะเบียนและสัดส่วนการขายรถกระบะ) เนื่องจากรถกระบะสามารถใช้งานได้หลากหลาย ทั้งใช้โดยสาร บรรทุกของ ขนส่งสินค้าเกษตรฯลฯ แต่กฎหมายได้ระบุว่า หากบรรทุกของหลังกระบะเกินกว่าที่กำหนด ถือว่าผิดกฎหมาย จะมีโทษปรับ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2522) ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2552

ไม่อยากถูกจับ!! บรรทุกของหลังกระบะอย่างไร ไม่ให้ผิดกฎหมาย

หากผู้ที่ต้องใช้รถกระบะเพื่อขนส่งสินค้าหรือบรรทุกของขนาดใหญ่ จะทำอย่างไร หากไม่อยากถูกจับปรับ

  1. การบรรทุกของหลังกระบะ ต้องไม่เกินความกว้างของรถ (ความกว้าง)
  2. รถกระบะบรรทุกให้สูงจากพื้นทางได้ไม่เกิน 3 เมตร กรณีรถที่มีความกว้างเกิน 2.30 เมตร บรรทุกได้สูงไม่เกิน 4 เมตร จากพื้นทาง (*กฎกระทรวง ฉบับที่ 20 พ.ศ. 2550 ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522) (ความสูง)
  3. ด้านหน้ายื่นไม่เกินหน้าหม้อรถ ด้านหลังยื่นพ้นตัวรถไม่เกิน 2.5 เมตร ติดธงสีแดงหรือไฟสัญญาณแสงแดง ให้รถคันหลังเห็นได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร (ความยาว)
  4. ต้องป้องกันไม่ให้มีสิ่งของตกหล่นจากรถ หรือปลิวไปจากรถ อาจก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อน เกิดอันตรายแก่ผู้อื่น

หากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับ 1,000 บาท ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2552

นอกจากนี้ การบรรทุกของเกินขนาด นอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว ยังก่อเกิดอันตรายอีกด้วย อันตรายที่เกิดจากการบรรทุกของหลังกระบะมากเกินไป ได้แก่

  • บดบังวิสัยทัศน์ สิ่งของล้นออกทุกทิศทางจนมองไม่เห็นรถที่ตามมาด้านหลัง มองไม่เห็นรถด้านข้าง อันตรายต่อตนเองและเพื่อนร่วมทาง
  • เสี่ยงเกิดยางระเบิด หรือรถเสียหาย เนื่องจากเป็นการบรรทุกเกินกว่าสมรรถนะของยางและระบบช่วงล่าง
  • อายุการใช้งานของยางลดลงอย่างรวดเร็ว ยางสึกหรอเร็ว เพราะการบรรทุกน้ำหนักเกินอัตราส่งผลให้การเคลื่อนไหวของหน้ายางมีมากขึ้น และยังทำให้ประสิทธิภาพในการยึดเกาะถนนระหว่างหน้ายางกับโครงยางลดลง
  • รถเสียสมดุล เสียหลักง่าย โอกาสเกิดอุบัติเหตุสูงขึ้น เพราะรถเสียสมดุลการถ่ายน้ำหนัก ทำให้ตอนหน้ารถเบา จนล้อหน้าขาดแรงยึดเกาะถนน เลี้ยวยาก-เบรกยาก หากเกิดเหตุไม่คาดฝัน เช่น รถตัดหน้า ถนนลื่น จะเสียหลักได้ง่าย

 

 

เครดิต www.autospinn.com

 

ตัวตึง 2006 มาสด้า BT50 2.5 พาวเวอร์คอมมอนเรลดีเซล