Engine Break คืออะไร? ใช้อย่างไร?

Engine Break คืออะไร?
Engine Break (เอนจิ้นเบรค) ไม่ใช่ระบบเบรคแต่คือแรงหน่วงของเครื่องยนต์ จะเกิดขึ้นเมื่อผู้ขับ “ยกคันเร่ง” โดยเครื่องยนต์จะเกิดอาการตื้อและหน่วงทำให้ความเร็วลดลงตามกำลังของเครือ งยนต์และอัตราทดของเกียร์ โดยปกติแล้ว Engine Break (เอนจิ้นเบรค) จะมีแรงหน่วงในเกียร์ต่ำมากกว่าเกียร์สูง เรียงลำดับตามนี้ 1 > 2 > 3 > 4 > 5 > 6

Engine Break มีประโยชน์อย่างไร?
อย่างที่บอกไว้ข้างต้นว่า Engine Break (เอนจิ้นเบรค) คือแรงหน่วงของเครื่องยนต์ ซึ่งเราจะใช้ Engine Break (เอนจิ้นเบรค) ก็ต่อเมื่อไม่ต้องการให้รถไหลเร็วเกินไป และใช้เบรคน้อยที่สุด พอจะนึกออกไหมว่าใช้ในสถาณการณ์ไหน? … นึกออกไหม … ก็ใช้ตอนลงเขาหรือเนินลาดชันยังไงล่ะครับ อย่างเช่น ดอยอินทนนท์ หรือเส้นทางลงเขาตามภาคเหนือที่เป็นทางโค้งยาวหลายสิบหลายร้อยกิโลเมตร

ถ้าใช้เกียร์สูงรถก็จะไหลเร็วเกินไป พอใช้เบรคเยอะเกินไปก็จะเกิดความร้อนสูงสะสมในระบบเบรค และระบบเบรคจะไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ทำให้ เบรคแตก เบรคไหม้ เบรคไม่อยู่ นั่นเอง ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดเหตุดังกล่าว เราจึงควรใช้เบรคให้น้อยที่สุด โดยใช้เกียร์ต่ำหน่วงรถไม่ให้ไหลเร็วเกินไปเวลาลงเขา ส่วนจะใช้เกียร์ 1 , 2 หรือ 3 ก็แล้วแต่สถาณการณ์และความเร็วที่เหมาะสมครับ

คลิปตัวอย่างการไม่ใช่ Engine Break ในการลงเขา

ความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับการใช้ Engine Break (เอนจิ้เบรค)
คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าเมื่อวิ่งมาเร็วๆ แล้วจะลดความเร็ว ให้ลดเกียร์ลงเพื่อดึง Engine Break (เอนจิ้เบรค) มาใช้ … อยากบอกไว้ตรงนี้เลยว่าเป็นความเข้าใจที่ “ผิด” ผิดชนิดฝังหัวตั้งแต่รุ่นปู่ยันรุ่นหลานเลยล่ะ จริงๆ แล้วถ้าจะลดความเร็วให้ใช้ “เบรก” ไม่ใช่ให้ลดเกียร์ (แม้แต่นักแข่งระดับโลกยังไม่มีใครเขาทำกัน)

การวิ่งมาเร็วๆ แล้วลดเกียร์ลงในทันทีจะทำให้รอบเครื่องดีดขึ้นสูงอย่างฉับพลัน เกิดแรงกระชากมหาศาลภายในเครื่องยนต์ ฟันเฟืองเอย เพลาเอย ข้อเหวี่ยงเอย เฟืองท้ายเอย ฯลฯ ถูกกระชากอย่างรุนแรง ถึงแม้ไม่ทำให้เครื่องพังในทันทีแต่ย่อมมีการสึกหรอตามมาอย่างแน่นอน การลดเกียร์เพื่อเพิ่มรอบเครื่องยนต์ควรทำต่อเมื่อต้องการกำลังเพื่อ “เร่งแซง” ไม่ใช่ “เพื่อเบรค”

การเบรคที่ถูกต้องทำอย่างไร?
1.    ยกคันเร่งเพื่อเรียก Engine Break มาหน่วงให้รถไหลช้าลง ที่สำคัญ “ห้ามกดคลัชต์เด็ดขาด” เพราะเป็นการตัด Engine Break โดยสิ้นเชิง
2.    แตะเบรคให้สัมพันธ์กับความเร็วที่ขับมา
เสริมสุดท้ายที่เรามักเห็นนักแข่งระดับมืออาชีพทำ Heel&Toe (ลดเกียร์) ตอนเข้าโค้งความจริงไม่ใช่เรื่องการเบรคเป็นหลัก แต่เป็นการเตรียมเกียร์ให้เหมาะสม เพื่อใช้ในโค้งและทะยานออกจากโค้ง

เครดิต www.heremoo.com