จะปิดถุงลมนิรภัยยังไง หากเป็นอันตราย ต่อ ผู้โดยสารวัยเด็ก

ระบบ Supplemental Restraint System หรือที่เราคุ้นตากับคำว่า SRS คือระบบ ถุงลมนิรภัย ที่คอยป้องกันผู้ขับขี่และผู้โดยสารยามเกิดอุบัติเหตุ แต่ระบบดังกล่าวใช่ว่าจะให้แต่คุณประโยชน์อย่างเดียว กลับกันมันก็ให้โทษแก่ผู้ใช้เหมือนกันดังจากที่เคยมีข่าวคนขับหรือผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บจากการระเบิดของ ถุงลมนิรภัย ทำให้รถยนต์บางรุ่นต้องมีสวิตช์เปิด-ปิดการใช้งานของ ถุงลมนิรภัย

ด้วยแรงอัดที่ 300 กม-ชม. เมื่อเกิดอุบัติเซ็นเซอร์การทำงานของ ถุงลมนิรภัย ตรวจจับเเรงสั่นสะเทือนเเละพุ่งพองตัวออกมาอย่างรวดเร็วจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ ถุงลมนิรภัย นอกจากจะช่วยชีวิตคุณเเล้ว ในบางกรณีมันอาจเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้คุณบาดเจ็บได้ไม่ยาก โดยเฉพาะผู้โดยสารด้านหน้าที่เป็น เด็ก และคนชรา คำถามคือ ทำไมถึงต้องเป็นคนในช่วงสองวัยดังกล่าว

เนื่องจาก ถุงลมนิรภัย ถูกออกแบบเพื่อใช้งานกับผู้ใหญ่เท่านั้น ด้วยแรงดันที่พุ่งออกมาอย่างรวดเร็วเเละรุนแรง จึงมีคำเตือนจากคู่มือการใช้รถของทุกแบรนด์ที่ระบุว่าไม่ควรให้เด็กเล็ก หรือเด็กที่มีความสูงต่ำกว่า 140 ซม.นั่งด้านหน้ารถ หรือให้นั่งตักผู้ใหญ่ตรงที่นั่งผู้โดยสารด้านหน้าแม้ว่าจะรัดด้วยเข็มขัดนิรภัยก็ตาม หรือเเม้แต่การวางเด็กซึ่งนั่งอยู่บนเบาะรองนั่งเสริม ที่นั่งสำหรับเด็กแบบหันไปทางด้านหลัง บนที่นั่งผู้โดยสารด้านหน้าก็เป็นเรื่องที่ไม่สมควร เพราะเมื่อ ถุงลมนิรภัย ระเบิดออกมามันจะพุ่งอัดเข้าไปที่าบริเวณใบหน้าของเด็กขณะนั่งเต็มแรง รวมถึงคนแก่หรือผู้ที่กำลังป่วยก็อาจได้รับอันตรายจาก ถุงลมนิรภัย จนได้รับอันตรายด้วยเช่นกัน

ปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ได้ออกแบบให้มีสวิตช์ เปิด-ปิดการทำงานของ ถุงลมนิรภัย เพื่อให้ผู้โดยสารด้านหน้าสามารถเลือกได้ว่าต้องการให้ ถุงลมนิรภัย ทำงานเมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือไม่ แต่สำหรับรถที่ไม่มีปุ่มเปิด-ปิด ก็จะมีสติ๊กเกอร์เตือนไม่ควรให้เด็กนั่งด้านหน้ารถ ติดไว้บริเวณขอบ​ของ​คอนโซล​หน้าที่​ด้าน​ผู้โดยสาร ดังนั้นก่อนออกเดินทางหากมีเด็กเล็กไปด้วยแนะนำให้เด็กนั่งในตำแหน่งเบาะแถวหลัง หรือวางคาร์ซีทในเบาะแถวหลังจะปลอดภัยกว่า

เครดิต www.mthai.com