“บีบแตร” เตือนภัย ไม่ใช่เรื่องล้อเล่น

เกิดเหตุทะเลาวิวาทบนถนน..เนื่องจากไม่พอใจเพราะรถยนต์อีกคันบีบแตรดังลั่น...หลายคนคงเจอปัญหาหัวร้อนบนท้องถนน ยิ่งเราเป็นคนใช้รถมักจะเจอปัญหาเช่นนี้ทุกราย! นั่นคือการบีบแตรโต้ตอบ คันที่บีบเตือน หรือการที่ต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่ไม่อยากให้เกิดชกต่อย ยิงกัน หรือทุบรถ เพราะ คุณ! กำลัง! จะทำให้! ฉัน! ตกอยู่ในอันตราย! หรือพูดง่ายๆ ว่า “คุณพี่..จะชนรถฉันแล้ว” ที่ต้องขอเน้นก็เพราะหลายครั้งที่เจอเหตุการณ์การทะเลาะวิวาท ลุกลามใหญ่โต เพราะแค่สัญญาณแตร บีบเตือน ก็บอกเราเตือน!!!!
ในข้อกฎหมาย พรบ. จราจรทางบกปี 2522 หมวดที่ 2 เรื่องการใช้ไฟหรือเสียงสัญญาณของรถ มาตราที่ 12 รถแต่ละชนิดที่ใช้ในทางเดินรถผู้ขับขี่ต้องใช้เสียงสัญญาณโดยเฉพาะดังต่อไปนี้
ข้อที่ 1. เสียงแตร สำหรับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ และให้ได้ยินได้ในระยะไม่น้อยกว่า 60 เมตร และในมาตราที่ 14 การใช้เสียงสัญญาณ ผู้ขับขี่จะใช้ได้เฉพาะเมื่อจำเป็นหรือป้องกันอุบัติเหตุเท่านั้นแต่จะใช้เสียงยาวหรือซ้ำเกินควรไม่ได้ (ที่มาจาก: พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พศ.2522)

ขอบคุณภาพคุณจิ๋ว

ขอบคุณภาพจากคุณเตี้ยง
อ่านตรงนี้กันให้ชัดเจนนะคะ การบีบแตรเตือน 1. เพื่อเป็นสัญญาณเตือนป้องกันอุบัติเหตุ  2. เราบีบแตรเพื่อให้คุณระมัดระวังเรา หรือเราอยู่ในจุดที่จะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ฉับพลัน ไม่ใช่บีบมา บีบกลับ แล้วมาเป็นทำนอง กวนเส้น…ถ้าเจอคนที่เขาใจเย็นไม่อยากทะเลาะเพราะวุฒิภาวะเหนือกว่าก็จบไปแยกย้าย แต่ถ้าเจอคนหัวร้อนเลือดขึ้นหน้าพร้อมปะทะ ทำใจว่ายังไงก็หนีการทะเลาะไม่พ้น ก็ต้องเกิดเหตุอย่างว่า จอดตัดหน้า, ไล่บี้, ควักปืนลงมายิง, ปาดมาแล้วเบรก, บลาๆๆ ถามว่ามันคุ้มกันแล้วหรอ? กับการทะเลาะเลือดอาบแค่ “บีบแตร”…….พ่อจ๋าหนูรอกินข้าวกับพ่ออยู่นะ (แต่ทว่าพ่อสิ้นใจเพราะโดนยิงจากเหตุเดือดโดนบีบแตรแล้วพ่อลงหาเรื่อง กลับถูกสวนด้วยลูกปืน 11 มม.) ไม่คุ้มกันสักนิดเลยค่ะ!

ตัวอย่างภาพข่าวจาก : www.ejan.co

ตัวอย่างภาพข่าวจาก : www.naewna.com
เรานึกถึงประเทศเพื่อนบ้านที่ยังไม่เจริญเทียบเท่าประเทศไทย การใช้สัญญาณแตร เป็นเรื่องที่ชิน และเป็นที่รู้กันว่ามันคือการบีบเตือนภัย แต่ทำไมคนไทยกลับมองว่าเป็นการยั่วโมโห! เราซึ่งเป็นผู้พัฒนาแล้วอย่าให้ใครมองว่าเรายังเป็นผู้ด้อยในทางอามรณ์ หรือเป็นผู้ที่ไร้ซึ่งความคิดในการพิจารณาว่าอย่างไหนดี อย่างไหนไม่ดี
แต่ในมุมอีกมุมนึงสำหรับบุคคลที่มีพฤติกรรม บีบไล่ บีบหลายที บีบถี่ๆ หรือบีบด่า ก็ควรระวังด้วยค่ะในทางกฎหมายเขาห้ามใช้สัญญาณแตรซ้ำเกินควร หรือบีบลากยาวโดยไม่จำเป็น ปี๊นนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนน หรือไม่ใช่เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ เป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย มีโทษปรับสูงสุด ตามมาตรา 148 โทษปรับไม่เกิน 500 บาท หรือ ผู้ใดดำเนินการเปลี่ยนแปลงแตรหรืออื่น ๆ ภายในตัวรถนอกเหนือจากที่จดทะเบียนจะถือว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก 2522 มาตรา 12 มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท  (ข้อมูลจาก: www.dailynews.co.th : พ.ศ.2559 )
เพราะฉะนั้นใช้มันให้เป็น ใช้ให้เหมาะสม ใช้ให้ถูกต้อง อย่าหัวร้อนหรือมาตอบโต้กันแค่เรื่อง บีบแตร เสียเวลาทำมาหากินจะได้กลับบ้านอย่างปลอดภัย ค่ะ พูดจริงๆ นะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับการขับของคนใช้รถ และสติ! ต้องมาทุกขณะในการขับรถเช่นกัน…

 

 

เครดิต www.checkraka.com